"วิทยุชุมชนคนของแผ่นดิน นาโพธิ์เรดิโอ FM.8825MHz."รักในหลวง ห่วงชุมชน คนของแผ่นดิน สร้างถิ่นไทยเจริญ"
ข้อรำพึงพระวาจาประจำวัน
พระคุณเจ้าหลุยส์จำเนียร สันติสุขนิรันดร์
สรุปข่าวประจำวัน โดย ประสงค์ เนืองทอง
รายการ อรุณสวัสดิ์กุสุมาลย์ มณฑล

เวลา 06.00-07.00 น.เว้นวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์

สุพจน์ ลอยพิลา
-เปิดโลกการศึกษาสู่อาเซี่ยน ช่วง คนกันเอง

จันทร์-ศุกร์ 14.00-15.00 น.

เมฆ เมืองนคร
-ลูกทุ่งสนธยา
-เครดิตยูเนี่ยนสัมพันธ์
จันทร์-ศุกร์ 18.00-20.00 น.
นาโพธิ์น้อย ม.7
หอกระจายข่าว
คณะกรรมการดำเนินการ
สมาชิกของเรา
ระเบียบข้อบังคับต่าง
ประกาศต่างๆ
ประวัติและความเแป็นมา
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน แห่งประเทศไทย จำกัด
ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด
     สาขาตะวันออกเฉียงเหนือ

เครดิตยูเนี่ยนท่าแร่พัฒนาจำกัด
- ฟังรายการวิทยุ ลูกทุ่งเครดิตยูเนี่ยน ทุกวัน เวลา 19.00-20.00 น และ FM.88.25 MHz.
- ฝากสะสมหุ้น กู้เงิน รับชำระเงินกู้และรับสมาชิกใหม่ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-15.00 น. และทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.30-14.00 น.

sk5

 

 

 


41 ปี กรมส่งเสริมสหกรณ์ ช.ส.ค. ร่วมยินดี
1 ตุลาคม 2556 วันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมสหกรณ์
ครบรอบ 41 ปี ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด
โดยมีนายมานะ สุดสงวน ประธานกรรมการดำเนินการ
และนายสมบูรณ์ ชมชื่น กรรมการ เป็นผู้แทนฝ่ายบริหาร
ฝ่ายจัดการ และเจ้าหน้าที่ ช.ส.ค.
รวมถึงสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทั่วประเทศ...




วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันสหกรณ์แห่งชาติ
 

 


 
พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ
พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย

 

การสหกรณ์ไทย

        ความคิดเรื่องการสหกรณ์เกิดขึ้นในประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประมาณ พ.ศ. 2457 ในสมัยนั้นประเทศไทย
ได้เริ่มมีการค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น ระบบเศรษฐกิจชนบท เปลี่ยนจากระบบเลี้ยงตนเองมาเป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า
ความต้องการเงินทุนในการขยายการผลิต และการครองชีพ การกู้ยืมเงินทุนจากนายทุนท้องถิ่นที่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง
การถูกเอารัดเอาเปรียบ ในการขายผลผลิต สภาพดินฟ้าไม่อำนวย ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย การเกิดหนี้สินพอกพูน
จึงเกิดขึ้นกับเกษตรกร

        จากสภาพปัญหาความยากจนและหนี้สินดังกล่าวทำให้ทางราชการพยายามหาทางแก้ไข ต่อมารัฐบาลได้เชิญ
เซอร์เบอร์นาร์ด ฮันเตอร์ (Sir Benard Hunter) หัวหน้าธนาคารแห่งมัดราส ประเทศ อินเดีย เข้ามาสำรวจ
หาลู่ทางช่วยเหลือเกษตรกร และได้เสนอว่าควรตั้ง “ ธนาคารให้กู้ยืมแห่งชาติ” ดำเนินการให้กู้ยืมแก่ราษฎร
โดยมีที่ดินและหลักทรัพย์อื่นเป็นประกันเพื่อมิให้ชาวนาที่กู้ยืมเงินหลบหนีหนี้สิน พร้อมทั้งแนะนำให้จัดตั้งสมาคม
เรียกว่า “ โคออเปอร์เรทีพ โซไซตี้” (Cooperative Society) เพื่อควบคุมการกู้เงินและการเรียกเก็บเงินกู้
โดยใช้หลักการร่วมมือกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งคำนี้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
ได้ทรงบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทยว่า “ สมาคมสหกรณ์” จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเริ่มศึกษาวิธีการสหกรณ์ในปี 2457
แต่ยังมิได้ดำเนินการอย่างไร จนกระทั่งในปี 2458 ได้มีการจัดตั้งกรมสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
เป็นกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ประกอบด้วยส่วนราชการ 3 ส่วน คือ การพาณิชย์ การสถิติพยากรณ์ และการสหกรณ์

        การตั้งส่วนราชการสหกรณ์นี้ก็เพื่อจะให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น และพระราชวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ในฐานะอธิบดีกรมพาณิชย์ และสถิติพยากรณ์ขณะนั้น ได้ทรงพิจารณาเลือกแบบอย่าง
ของสหกรณ์แบบไรฟ์ไฟเซนของประเทศเยอรมันเป็นตัวอย่างขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากมีความเหมาะสม
กับภาวะเศรษฐกิจของเกษตรกรไทย ขณะนั้นมากกว่ารูปอื่น และได้ทดลองจัดตั้งสหกรณ์แห่งแรกของ ประเทศไทยขึ้น
ณ ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ชื่อว่า “ สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการเงินกู้แก่สมาชิก
โดยจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ.2459 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459
มีพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ พระองค์แรก สหกรณ์แห่งนี้มีสมาชิกแรกตั้ง จำนวน 16 คน
ทุนดำเนินงาน 3,080 บาท เป็น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 80 บาท และเงินทุนซึ่งกู้จากแบงก์สยามกัมมาจล
( ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน) เป็นจำนวน 3,000 บาท มีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ค้ำประกัน
โดยเสีย ดอกเบี้ยให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี คิดดอกเบี้ยจากสมาชิกในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี
กำหนดชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยได้ตามกำหนด และยังมีเหลือพอเก็บไว้เป็นทุนต่อไป

      แสดงให้เห็นว่าการนำวิธีการสหกรณ์เข้ามาช่วยแก้ไขความเดือดร้อนของเกษตรกรได้ผล ดังนั้น ทางราชการ
จึงได้ส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์หาทุนขนาดเล็กในท้องถิ่นต่างๆ ที่ประสบปัญหาอย่างเดียวกัน

      ต่อมางานสหกรณ์ได้ขยายตัวกว้างขวางขึ้นมีการจดทะเบียนสหกรณ์ อีกหลายสหกรณ์ และการ จัดตั้งสหกรณ์
อีกหลายประเภท แต่เป็นสหกรณ์ขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจแบบเอกประสงค์ทั้งสิ้น จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการ
หรือแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้เต็มที่

          ทางรัฐบาลจึงได้ออกพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 เปิดโอกาสให้สหกรณ์หาทุนขนาดเล็ก
ที่ดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียวควบเข้าเป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ ทำให้สามารถขยายการดำเนินธุรกิจเป็นแบบเอนกประสงค์
ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิก ด้วยเหตุนี้สหกรณ์หาทุน จึงแปรสภาพเป็นสหกรณ์การเกษตร มาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาในปี 2516 ได้มีการประกาศ กฎกระทรวงเกษตร และสหกรณ์แบ่งประเภทสหกรณ์ในประเทศไทย

        ปัจจุบันเป็นไปตามกฎกระทรวง กำหนดประเภทสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ.2548 กำหนดไว้ 7 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. สหกรณ์การเกษตร
2. สหกรณ์ประมง
3. สหกรณ์นิคม
4. สหกรณ์ร้านค้า
5. สหกรณ์บริการ
6. สหกรณ์ออมทรัพย์
7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน


       ซึ่งนับแต่สหกรณ์ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ ได้สร้างความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิก จนทำให้จำนวนสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกปี การสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

 

พระประวัติพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย

 

พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ

ทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ 1 และจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) ประสูติเมื่อวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด
จุลศักราช 1238 ตรงกับวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2419 มีพระนามว่า พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส ( ต้นสกุล “ รัชนี”)
ทรงมีเจ้าพี่ผู้ร่วมจอมมารดาเดียวกันพระองค์หนึ่ง พระนามว่า พระองค์เจ้าหญิงภัททาวดีศรีราชธิดา
แต่สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชันษาได้ 28 ปี

พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส ได้ทรงร่ำเรียนหนังสือตั้งแต่เยาว์พระชันษา ทรงมีความสนพระทัยและมีสติปัญญาสามารถมาก
เพราะปรากฏว่าทรงศึกษาถึงขั้น “ อ่านออกเขียนได้” อย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่านั้น เมื่อพระองค์มีพระชันษาได้ 5 ขวบเท่านั้น
ก็ใฝ่พระทัยค้นหาเอาโครงกลอนมาอ่านตลอดจนร้อยแก้ว เรื่องที่ได้รับความนิยมกันอยู่ในสมัยนั้น เช่น เรื่องอิเหนา
รามเกียรติ์ สามก๊ก และเรื่องจีนอื่นๆ นอกจากนั้นยังได้ทรงศึกษาหนังสือขอมด้วย โดยทรงศึกษาจากเจ้าพี่ผู้มีพระชันษา
แก่กว่า 5 ปี อิทธิพลของหนังสือขอมแผ่ซ่านทั่วไปในวงวรรณกรรมของไทยแทบทุกแห่ง

ดังนั้น เมื่อพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสและเจ้าพี่อ่านและเขียนได้ครั้งแรก ความทราบถึงพระกรรณของพระราชวังบวรฯ
ผู้เป็นพระบิดาก็ไม่ทรงเชื่อ เพราะเข้าพระทัยว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่พระธิดาและพระโอรสซึ่งมีพระชันษาเพียงเท่านั้น
จะทรงอ่านหนังสือขอมได้จริง โดยเฉพาะพระโอรสนั้นพระชันษาน้อย ขนาดหนังสือไทยก็ควรจะอ่านและเขียนไม่ได้ด้วยซ้ำไป
พระบิดาจึงทรงใคร่จะทดลองด้วยการโปรดฯ ให้เฝ้าโดยไม่แจ้งพระประสงค์ให้ทราบล่วงหน้า และประทานหนังสือขอม
อันเป็นคัมภีร์ใบลานให้ทดลองอ่าน ปรากฏว่าพระธิดาและพระโอรสสามารถอ่านได้ดังคำเล่าลือ
ส่วนอัจฉริยะในขั้นต่อไปของพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส ก็คือในขณะที่ยังมีพระชันษา 5 ขวบนั้น
ทรงสามารถแต่งโคลงกลอนได้บ้างแล้วด้วย

ในปี พ.ศ. 2429 พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสได้ทรงเข้าศึกษา ณ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และทรงอยู่ที่โรงเรียนเป็นประจำ
เสด็จกลับวังเฉพาะวันพระ ทรงเรียนอยู่เพียงปีเศษจบการันต์ คือ จบชั้นสูงสุดในประโยค 1 และในระหว่างนี้ทรงเรียน
ภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย และทรงเรียนจบประโยค 2 เมื่อ พ.ศ. 2434 ทรงสอบไล่ได้เป็นที่ 1 ได้รับพระราชทานหีบหนังสือเป็นรางวัล
จากนั้นได้เรียนภาษาอังกฤษต่อไปจนจบหลักสูตรการเรียนของโรงเรียนสวนกุหลาบ เมื่อทรงสำเร็จวิชาการโรงเรียนสวนกุหลาบแล้ว
พระชันษายังน้อยเกินกว่าที่จะรับราชการ จึงเสด็จเข้าเรียนภาษาอังกฤษต่อที่สำนักอื่นอีกแห่งหนึ่งจน พ.ศ. 2436
ได้เสด็จเข้ารับราชการในตำแหน่งนายเวรกระทรวงธรรมการ ขณะนั้นพระชันษา 16 ปี 3 เดือน

ต่อมาได้ทรงเลื่อนขึ้นเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการ ในพ.ศ. 2438 ทั้งได้ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทยด้วย
และทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่งอีกหน้าที่หนึ่งขณะที่ทรงรับราชการอยู่กระทรวงธรรมการ 2 ปีเศษนั้น
พระองค์มิได้ทรงฝักใฝ่อยู่แต่หน้าที่ราชการประจำอย่างเดียว ยังสนพระทัยที่จะแสวงหาความรู้ ทางภาษาอังกฤษ เพิ่มเติมอยู่มิได้ขาดอีกด้วย

โดยทรงกระทำพระองค์สนิทชิดชอบกับที่ปรึกษากระทรวงและข้าราชการอื่นๆ
ที่เป็นชาวอังกฤษ ทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ความพยายามเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งเพิ่มพูนความรู้ทางภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีที่สุดทั้งสิ้น จนทำให้พระองค์ทรงคุ้นกับขนบธรรมเนียมและตรัสภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว ด้วยเหตุนี้จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ย้ายพระองค์เจ้ารัชนีจากกระทรวงธรรมการมาเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2439 ในที่สุดพระองค์ท่านก็กลายเป็นผู้ถูกอัธยาศัยอย่างมากกับที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติซึ่งเป็นชาวอังกฤษ ที่ปรึกษาถึงกับทูลปรารภต่อเสนาบดีว่าควรส่งคนหนุ่มอย่างพระองค์ท่านไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษเสียพักหนึ่งก็จะได้คนดีที่สามารถใช้ในราชการ เสนาบดีทรงเห็นชอบด้วยและทรงมีพระดำริอยู่แล้ว ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2440 พระองค์เจ้ารัชนีทรงย้ายมามีตำแหน่งเป็นล่ามที่กระทรวงพระคลังและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตามเสด็จพระราชดำเนินประพาสทวีปยุโรป เมื่อวันที่ 7 เมษายน ปีนั้น และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เสด็จอยู่ทรงเล่าเรียนต่อในประเทศอังกฤษ ผู้ดูแลนักเรียนหลวงจัดให้ท่านไปเรียนอยู่กับแฟมิลี่ ต่อมาถึงแม้จะมีเวลาในการเตรียมพระองค์ไม่มากนัก แต่ด้วยทรงมีความวิริยะอุตสาหะและตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ ทำให้ทรงสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย ก็ทรงกอบโกยความรู้ใส่พระองค์อยู่ตลอดเวลา แต่ทรงศึกษาอยู่เพียง 3 เทอม ถูกเรียกตัวกลับประเทศไทย คือ ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2442 พระองค์ท่านได้เสด็จเข้ารับราชการเป็นผู้ช่วยกรมตรวจแลกรมสารบัญชี ในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2444 ได้ทรงย้ายไปมีตำแหน่งเป็นปลัดกรมธนบัตร ซึ่งเป็นเวลาที่กระทรวงพระคลังเริ่มจะจัดพิมพ์ธนบัตรออกใช้แทนเงินกษาปณ์เป็นครั้งแรก พระองค์เจ้ารัชนีจึงได้รับมอบให้จัดตั้งระเบียบราชการในกรมใหม่นั้นขึ้น ได้ทรงเป็นแม่กองปรึกษากันในการคิดแบบลวดลายและสีของธนบัตรแต่ละชนิด ทรงมีส่วนในการตราพระราช

บัญญัติเงินตราสมัยนั้นการวางกฎเสนาบดีในการควบคุมธนบัตร และทรงวางหลักการบัญชี เป็นต้น ธนบัตรที่จัดพิมพ์ขึ้นครั้งนั้นมีอัตราใบละ 1,000 บาท 100 บาท 20 บาท 10 บาท 5 บาท ส่วนอัตรา 1 บาท ยังคงใช้เหรียญตรากษาปณ์อยู่อย่างเดิม และได้นำธนบัตรออกจำหน่ายเป็นปฐมฤกษ์เมื่อ วันเปิดกรมธนบัตร ต่อจากนั้นอีก 5 เดือน คือในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2446 พระองค์เจ้ารัชนี ก็ทรงเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร และได้ทรงย้ายไปทรงเป็นเจ้ากรมกองที่ปรึกษาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2446 เสด็จอยู่ในตำแหน่งนั้นได้ 14 เดือน ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2447 ทรงย้ายไปรับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมกษาปณ์สิทธิการ ราชการในกรมกษาปณ์สมัยนั้น มีความมุ่งหมายอันสำคัญ คือ การจัดงานและการควบคุมการทำเหรียญตรากษาปณ์ให้มีปริมาณมากพอและให้มีคุณสมบัติดีพอแก่ความต้องการของราชการ เมื่อพระองค์เจ้ารัชนีผู้เสด็จเข้าไปรับงานนี้ ทรงเป็นพระธุระแก้ไขปัญหาต่างๆ ทำให้การดำเนินงานสำเร็จเรียบร้อยตามความมุ่งหมาย และงานทั้งสิ้นที่ทรงจัดขึ้นใหม่ในกรมกษาปณ์ครั้งนั้น เป็นที่ต้องพระประสงค์ของเสนาบดีเป็นอันมาก แต่พระองค์เจ้ารัชนีทรงปฏิบัติราชการแผนกนั้นอยู่ 3 ปีเศษ ก็มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระองค์เจ้ารัชนีมาเป็นอธิบดีกรมตรวจแลกรมสารบัญชี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2451 และทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจแลกรมสารบัญชีซึ่งเป็นกรมใหญ่และสำคัญกรมหนึ่งในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ อยู่จนสิ้นรัชกาลที่ 5 และทรงดำรงตำแหน่งเดิมนั้นต่อไปอีก 5 ปี ในรัชกาลที่ 6 ( ภายหลังกรมตรวจแลกรมสารบัญชีเปลี่ยนชื่อเป็นกรมบัญชีกลาง)

รวมเวลาที่พระองค์เจ้ารัชนี ทรงรับราชการในรัชกาลที่ 5 เป็นเวลา 17 ปี จนมีพระชันษาได้ 33 ปี ใน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระองค์เจ้ารัชนีเป็นองคมนตรี

เนื่องด้วยพระองค์เจ้ารัชนีทรงมีพระสติปัญญาสามารถในราชการ และเป็นผู้แตกฉานทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ ตลอดจนเป็นกวีที่มีสำนวนพิเศษ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2456 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศพระองค์เจ้ารัชนี เป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามจาฤกในพระสุพรรณบัฎว่าพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณมุกสิกนาม ทรงศักดินา 11,000 ไร่ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระราชวังบวร

ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2458 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมสถิติพยากรณ์ขึ้นเป็นกรมบัญชาการชั้นมีอธิบดีเป็นหัวหน้า อยู่ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีชื่อว่า “ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณเป็นอธิบดี ต่อมาได้เริ่มจัดงานสำคัญขึ้นอีกแผนกหนึ่ง ด้วยคำนึงว่าชาวนาเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการพาณิชย์ เพราะข้าวเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ แต่ชาวนามีหนี้สินมาก ทำนาได้ข้าวมามากน้อยเท่าใดก็ต้องขายใช้หนี้เกือบหมด ถึงกระนั้นหนี้สินก็ยิ่งพอกพูน กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์เห็นว่าการช่วยกู้ฐานะชาวนาให้พ้นอุปสรรค คือ วิธีการจัดตั้งสหกรณ์ ซึ่งก็รวมเข้าในวิธีการส่วนหนึ่งแห่งการอุดหนุนพาณิชย์ของประเทศด้วย ส่วนงานข่าวพาณิชย์ก็เป็นงานอีกแผนกหนึ่งที่มีความมุ่งหมายที่จะรวบรวมความรู้ในกิจการทุกอย่างทางพาณิชย์และดำเนินการช่วยเหลือ
ในพาณิชย์ของประเทศเจริญยิ่งๆ ขึ้น นอกจากงานต่างๆ ดังกล่าว ก็มีการจัดตั้งสถานจำแนกความรู้ทางพาณิชย์ โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ความรู้แก่มหาชนผู้ริเริ่มจะกระทำการพาณิชย์ งานส่วนหนึ่งในแผนกนี้ คือ การจัดตั้งศาลาแยกธาตุ กรมพาณิชย์ฯ เห็นว่าต่อไปภายหน้า การแยกธาตุจะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งแก่การค้าของบ้านเมือง เอกชนหรือพ่อค้าต้องอาศัยความรู้ทางการแยกธาตุมากขึ้นทุกที จึงรับกองแยกธาตุของกรมกษาปณ์มาขยายงานให้ใหญ่ออกไป ได้จัดหาเครื่องมือต่างๆ จนครบถ้วน และจัดให้มีเจ้าพนักงานผู้มีความรู้มาประจำมากขึ้นมีชื่อว่า “ ศาลาแยกธาตุของรัฐบาล” ( บัดนี้เรียกกรมวิทยาศาสตร์) และเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ประเทศไทยประกาศสงครามกับประเทศเยอรมันและฮังการี คือ สงครามโลกครั้งที่ 1 อธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานผู้พิทักษ์ทรัพย์ของชนชาติศัตรู พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ต้องทรงรับหน้าที่นี้โดยตำแหน่ง พระองค์ทรงได้รับการสรรเสริญว่า พิทักษ์ทรัพย์ด้วยความสุจริตยุติธรรมและรอบคอบในระหว่างที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ขึ้นเป็นกรมชั้นมีอธิบดีเป็นหัวหน้าราชการบางอย่างได้หยุดชะงักไปชั่วคราว เพราะอธิบดีและข้าราชการหลายคนในกรมฯ ติดราชการผู้พิทักษ์ทรัพย์ศัตรูซึ่งต้องใช้เวลาเป็นปีๆ แต่เมื่อราชการผู้พิทักษ์ทรัพย์ ค่อยเรียบร้อยลงก็เริ่มแข่งขันทางการพาณิชย์ต่อไป กรมพาณิชย์ฯ ได้ขยายงานกว้างขวางออกไปอีกหลายแผนก ด้วยอธิบดีกรมพาณิชย์ฯ ทรงเห็นการณ์ไกลว่า พาณิชย์ของประเทศย่อมขยายวงกว้างออกไปทุกทีตามความเจริญของบ้านเมือง และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้งกรมพาณิชย์แลสถิติพยากรณ์ขึ้นเป็น “ กระทรวงพาณิชย์” เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2463 ให้อยู่ในความควบคุมของสภาเผยแพร่พาณิชย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณเป็นอุปนายกแห่งสภานั้น ในปี พ.ศ. 2464 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณเป็นรองเสนาบดี กระทรวงพาณิชย์ ทรงมีตำแหน่งในที่ประชุมเสนาบดีสภาตั้งแต่ พ.ศ. 2463 จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2468 อันเป็นการประชุมเสนาบดีครั้งสุดท้ายในรัชกาลที่ 6

พ.ศ. 2465 สภานายกแห่งสภาเผยแพร่พาณิชย์ได้มีรับสั่งให้ พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ผู้เป็นนายทะเบียนสหกรณ์พร้อมด้วยมิสเตอร์เลอเมย์ที่ปรึกษาหลวงพิจารณ์พาณิชย์ และหลวงประกาศสหกรณ์ ออกไปดูงานสหกรณ์ที่ประเทศพม่าและอินเดีย เป็นเวลา 5 เดือนเศษ เมื่อเสด็จกลับ ทรงเขียนรายงานเสนอต่อสภานายกในเรื่องสหกรณ์แบบต่างๆ ที่เสด็จไปพิจารณามา ทรงชี้แจงว่าสหกรณ์ในสองประเทศนั้นมีประเภทใดบ้าง ประเภทไหนควรจะนำมาจัดได้ในประเทศนี้ ก็ได้ทรงรายงานไว้ถี่ถ้วนตอนหนึ่งในรายงานนั้นทรงกล่าวว่า ประเทศเราเคราะห์ดีที่จัดสหกรณ์ด้วยความรอบคอบที่สุด และจัดทีหลังประเทศอื่นๆ แทบทั่วโลก ข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่องสหกรณ์ เราจึงป้องกันได้ทุกทาง ด้วยทราบเยี่ยงอย่างความบกพร่องที่เกิดขึ้นแล้ว แก่สหกรณ์ประเทศนั้นๆ เช่น การควบคุมทางกฎข้อบังคับและทางกฎหมาย เป็นต้น ในที่สุดทรงยืนยันว่าสหกรณ์ที่จัดขึ้นในประเทศไทยนี้ไม่ผิดพลาดอย่างใดอย่างหนึ่งเลยนอกจากงานสหกรณ์ที่พระราชวรวงศ์เธอหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงเป็นผู้ปูพื้นฐานและทรงเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่แล้ว พระองค์ท่านยังทรงมีหน้าที่สำคัญๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอีกหลายประการ คือ
      http://coop.nida.ac.th/coop_02.gif ทรงเป็นอุปนายกหอพระสมุดแห่งชาติ
      http://coop.nida.ac.th/coop_02.gif ทรงเป็นกรรมการร่างกฎหมาย
      http://coop.nida.ac.th/coop_02.gif ทรงเป็นกรรมการสภากาชาด
      http://coop.nida.ac.th/coop_02.gif ทรงเป็นนายกสมาคมลอนเทนนิสแห่งประเทศไทย
      http://coop.nida.ac.th/coop_02.gif ทรงเป็นกรรมการองคมนตรีสภา
      http://coop.nida.ac.th/coop_02.gif ทรงเป็นสภานายกแห่งราชบัณฑิตยสภา

พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงเป็นนักหนังสือพิมพ์ นักประพันธ์ และกวีที่สำคัญพระองค์หนึ่ง ทรงใช้พระนามแฝงว่า น.ม.ส. ทรงนิพนธ์เรื่องสำคัญๆ ไว้หลายเรื่อง เช่น จดหมายจางวางหร่ำ พระนลคำฉันท์ นิทานเวตาล กนกนคร เป็นต้นในด้านชีวิตส่วนพระองค์ของพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงพรพิมลพรรณ ( วรวรรณ) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปพันธ์พงศ์ ทรงมีพระราชธิดาและพระโอรส คือ
1. หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต
2. หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี

พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 เวลา 15.30 น. สิริพระชนมายุได้ 68 ปี 6 เดือน 13 วัน

 

 

 

อ้างอิง : http://coop.nida.ac.th/co-op% 20nida.html
http://webhost.cpd.go.th/rlo/group.html

 

 

 
นายประสงค์ เนืองทอง ประธานกรรมการ และคณะกรรมการฯ มอบสวัสดิการและ ร่วมแสดงความอาลัย
กับสมาชิกที่เสียชีวิต นายสมคิด หงษ์ศรีเมือง อายุ 50 ปี เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2557


 
 
ประกาศกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125
แจ้งผลการดำเนินงาน วันสิ้นเดือน มกราคม 2557
*****************
กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนฯ ประกาศแจ้งสรุปผลการปฏิบัติงาน
เมื่อสิ้นเดือน มกราคม 2557 มีรายการดังนี้

- ฝากสะสมหุ้น                    จำนวน   28,140 บาท
- เงินออมทรัพย์                   จำนวน  1 ,590 บาท
- ชำระคืนเงินกู้                    จำนวน 45, 170 บาท
- ดอกเบี้ยเงินกู้                     จำนวน 16,922 บาท
- ค่าธรรมเนียม ฯลฯ              จำนวน       150 บาท
- เงินถอนจากธนาคาร             จำนวน 30,000 บาท

รวมรายการรับ   ทั้งสิ้น จำนวน 121,972.99 บาท
- เงินให้สมาชิกกู้สามัญเดือนมกราคม จำนวน 30,000 บาท
- รวมเงินหุ้น-เงินออมทรัพย์ ปัจจุบันทั้งสิ้น จำนวน 1,089,015.70 บาท
- รวมเงินในบัญชี เงินสด และเงินทุกประเภท จำนวน 231,868.77 บาท
- รวมเงินให้สมาชิกกู้ไปแล้วทั้งสิ้น จำนวน 870,438 บาท
- ปัจจุบัน มีสมาชิกทั้งสิ้น จำนวน 264 คน
- สมาชิกที่สมัคร สก.5 เดือน มกราคม มีผู้เสียชีวิต 275 ศพ


อนึ่ง บัดนี้ คณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แล้ว
และจะมีการประชุมคณะกรรมการฯ เป็นครั้งแรก

ในวันอังคารที่ 4 มกราคม 2557

ร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัด เพื่อแต่งตั้ง มอบหน้าที่ และกำหนดระเบียบต่างๆ ของสหกรณ์ ฯ
เพื่อประกาศใช้ต่อไป


จึงประกาศมาให้ทราบ โดยทั่วกัน
ประกาศมา ณ วันที่ 1 เดือนกุมภาพัน พ.ศ. 2557

( นายประสงค์ เนืองทอง )
ประธานกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125



ประมวลภาพการประชุมใหญ่ครั้งแรก
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ ๑๒๕ จำกัด
วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๗



 
บัดนี้ คณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แล้ว
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2556
ในชื่อ “สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์125 จำกัด”

จึงประกาศมาให้ทราบ โดยทั่วกัน

   

 

สรุปผลการปฎิบัติงาน เมื่อ
วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2557
มีรายการดังนี้

- ฝากสะสมหุ้น    จำนวน 15,110 บาท
- เงินออมทรัพย์   จำนวน     870 บาท
- ชำระคืนเงินกู้     จำนวน 26,560 บาท
- ดอกเบี้ยเงินกู้     จำนวน  7,486 บาท

รวมรายการรับ   ทั้งสิ้น จำนวน 49,116 บาท
- อนุมัติเงินให้สมาชิกกู้วันนี้ จำนวน 30,000 บาท
การประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกสหกรณ์ ของกลุ่มเครดิตยูเนี่ยน นาโพธิ์ 125
เมื่อ 11 ธันวาคม 2556

ระเบียบวาระที่ 1   เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2   เรื่องการให้การศึกษาอบรมเกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ และการทำธุรกิจสหกรณื
ระเบียบวาระที่ 3   เรื่องกำหนดชื่อสหกรณ์
ระเบียบวาระที่ 4   เรื่องพิจารณาเลือกตั้งคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์
ระเบียบวาระที่ 5   เรื่องข้อเสนอเกี่ยวกับการกำหนดประเภท วัตถุประสงค์ การจัดทำแผนดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจ
                        หรือกิจการของสหกรณ์ และร่างข้อบังคับ (เฉพาะส่วนที่สำคัญ)
ระเบียบวาระที่ 6   เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)

         

การประชุมคณะกรรมการและนายประยูร จารุวัฒนสิทธิ์ นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร
พื่อหารือและกำหนดวันอบรมสมาชิกผู้ซึ่งประสงค์จะจัดตั้งสหกรณ์ ตามหนังสือแนบเรียนรับรอง
จากชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ณ ที่ทำการชั่วคราวกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125
และสรุปผลการปฎิบัติงาน เมื่อสิ้นเดือน ตุลาคม

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556  


กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125
ขอร่วมแสดงความอาลัย
กับการจากไปของสมาชิก

นายอัมพร ซึมเมฆ

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2013
ด้วยโรคประจำตัว อายุรวม 69 ปี
พิธีมิสซาปลงศพ
วันที่ 18 ตุลาคม 2013 เวลา 09.00 น.

สรุปผลการปฏิบัติงาน
กล่มเครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125
เดือนกันยายน 2556
และวันอาทิตย์ต้นเดือน
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2556
ร่วมไว้อาลัย
คุณ คมดี ชัยหมื่น

พระยกไป
ด้วยอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน และโรคอื่นๆ
หลังจากเข้ารับการรักษาประมาณเกือบ 4 เดือน
ณ โรงพยาบาลรักษ์สกล อาการทรุดหนักตามลำดับ
ในที่สุด พระได้ยกไป
เมื่อบ่ายของวันที่ 28 กันยายน 2556
กลุ่มเครดิตยูเนี่ยน นาโพธิ์ 125 และวิทยุนาโพธิ์เรดิโอ
ขอแสดงความเสียใจมายังครอบครัว ชัยหมื่น
และญาติพี่น้อง ทุกท่านด้วย

สรุปผลการปฏิบัติงานวันอาทิตย์ต้นเดือน
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฏาคม 2556

กล่มเครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125
   - ฝากสะสมหุ้น จำนวน 16,260 บาท
   - เงินออมทรัพย์ จำนวน 1,260 บาท
   - ชำระคืนเงินกู้ จำนวน 32,550 บาท
   - ดอกเบี้ยเงินกู้ จำนวน  9,907 บาท
   - รวมรับทุกรายการ จำนวนทั้งสิ้น 59,997 บาท
   - เงินให้สมาชิกกู้สามัญเดือนนี้ จำนวน 74,800 บาท
สมาชิก ปัจจุบัน   จำนวน 251 คน
สมัคร สก.5 ใหม่ จำนวน    3 คน
รวมสมาชิก สก.5 จำนวน  21 คน
- รวมเงินหุ้น-เงินออมทรัพย์ ฯลฯ ปัจจุบันทั้งสิ้น จำนวน 966,283 บาท
- รวมเงินให้สมาชิกกู้ไปแล้วทั้งสิ้น                จำนวน 942,220 บาท
รวมสมาชิก ทั้งสิ้น จำนวน 251 คน
สรุปผลเดือนพฤษภาคม 2556
และ อาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน 2556
- รวมเงินหุ้น-เงินออมทรัพย์ ปัจจุบันทั้งสิ้น
จำนวน 927,786 บาท

- รวมเงินให้สมาชิกกู้ทั้งสิ้น จำนวน 861,620 บาท
รวมสมาชิก ทั้งสิ้น จำนวน 262  คน
กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125
ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก
กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนนามน หว่านใหญ่ มุกดาหาร 8 ท่าน
นำโดยสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนท่าแร่พัฒนา จำกัด

เมื่อ 15 พฤษภาคม 2556
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเลิงฮังสามัคคี จำกัด

ณ ห้องประชุมใหญ่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเลิงฮังสามัคคี ชั้น2
โดยมีสมาชิก-ตัวแทนสมาชิก ร่วมประชุม กว่าสองร้อยคน
ทั้งนี้กลุ่มเครดิตยูเนี่ยน นาโพธิ์ 125 ส่งผู้แทนเข้าร่วม 2 คน ท่ามกลางความเป็นกันเอง และการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

เมื่อ 29 เมษายน 2556
ผลการดำเนินงาน
กลุ่มเครดิตยูเนี่ยน นาโพธิ์ 125
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2556
- รายการรับทั้งสิ้น   จำนวน55,436 บาท
- อนุมัติให้สมาชิกกู้ จำนวน 34,000 บาท
- สมาชิกสมัครใหม่ จำนวน 1 ราย
- สมาชิกยื่นลาออก จำนวน 2 ราย
  รวมสมาชิก ทั้งสิ้น จำนวน 243 ค

 

    การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2555
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2556
ณ ที่ทำการชั่วคราว กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125
กลุ่มเครดิตยูเนี่ยน นาโพธิ์ 125 ร่วมทำโรงทาน ในงานทำบุญรวมใจพัฒนาโรงเรียนบ้านนาโพธิ์คุรุราษฐ์พัฒนา
พิธีมิสซาเริ่มเวลา 10.00 น. โดย คุณพ่อชำนาญ บัวขันธ์ ประธานพิธี
คุณพ่อไพศาล ว่องไว คุณพ่อญาณารฌพ มหัตกุล ซิสเตอร์สังวาล เนืองทอง
ตลอดจนชาวนาโพธิ์ นาโพธิ์น้อย ร่วมในงานอย่างพร้อมหน้า

เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2556
การประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ครั้งที่ 1/2555
การเตรียมความพร้อมจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ฯ
การรับสมาชิกสมทบ การจ่ายเงิน สก2
เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มีนาคม 2555
การประชุมคณะกรรมการดำเนินการอนุมัติเงินให้สมาชิกกู้ ครั้งที่ 2/2555
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2555
วงเงิน อนุมัติ จำนวน 119,700 บาท
สรุปผลการรับสมาชิกใหม่
และการสะสมเงินหุ้น
เมื่อ 2 เดือนตุลาคม
2011
สมาชิกฝากสะสมหุ้น จำนวน 30,0200 บาท
เงินกู้ชำระคืนพร้อมดอกเบี้ย 11,507.02 บาท
รวมเงินหุ้น 7 เดือน 233,384.85 บาท
และ สมาชิกใหมเดือนี้ 7 คน
รวมสมาชิกทั้งสิ้น 127 คน
2011-10-02

การรับสมัครสมาชิกใหม่ เพิ่ม 17 คน
และฝากสะสมหุ้นของสมาชิก 31,060 บาท
 รวมจำนวนเงินหุ้น 1,520,034 บาท
พิจารณาเงินให้สมาชิกกู้ 11 ราย
ในวงเงิน 54,600 บาท
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2554

ณ วิทยุคนของแผ่นดิน ต.นาโพธิ์
อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร
เวลา 09.30-14.3 น
.