"วิทยุชุมชนคนของแผ่นดิน นาโพธิ์เรดิโอ FM.8825MHz."รักในหลวง ห่วงชุมชน คนของแผ่นดิน สร้างถิ่นไทยเจริญ"

ฟังรายการจากวิทยุออนไลน์
Naphoradio Online 24 Hrs.
สรุปข่าวประจำวัน โดย ประสงค์ เนืองทอง
รายการ อรุณสวัสดิ์กุสุมาลย์ มณฑล

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2557 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3
เวลา 06.00-07.00 น.เว้นวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์

สุพจน์ ลอยพิลา
-เปิดโลกการศึกษาสู่อาเซี่ยน ช่วง คนกันเอง

จันทร์-ศุกร์ 14.00-15.00 น.

เมฆ เมืองนคร
-ลูกทุ่งสนธยา
-เครดิตยูเนี่ยนสัมพันธ์
จันทร์-ศุกร์ 18.00-20.00 น.

นาโพธิ์น้อย ม.7
หอกระจายข่าว
Radio Lessons and events of the Bible. ฟังรายการ"ตามรอยพระคัมภีร์ ทุกวัน

 
 




 
 
บริการดาวน์โหลด
ตารางการอบรมหลักสูตรพุทธวจน วังสวนกล้วย อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร
สารวัดท่าแร่ ปีที่29 ฉบับที่25 สัปดาห์ที่12 เทศกาลธรรมดา 22-28 มิถุนายน14
สารวัดปีที่ 29 ฉบับที่ 23 สมโภชพระจิตเจ้า 8 - 14 มิถุนายน14
 
 
MovieOnline1Online 2  
TV Online
Radio Online  ชมวีดีโอ สดจากห้องส่งนาโพธิ์
Radio Vatican  
รุ่งอรุณวิทยา
วิทยุรัฐสภา
อสมท.สกลนคร
ดอกคูนเรดิโอ สัมฤทธิ์โปรโมชั่น
พันธมิตร วาริชเรดิโอ
สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุ
     และโทรทัศน์ จังหวัดสกลนคร
วิทยุแห่งประเทศไทย จ.สกลนคร
florafm-ฟลอร่ามิวสิค
สถาบันพุทธวจนวังสวนกล้วย
ข่าวสาร จาก
วัดนักบุญ
มารีอามักดาเลนา

ประมวลภาพงานมงคลสมรสบิว
2013-11-23

รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน
ประวัติอาเซียน10ประเทศ
Asean Radio Stations
ฟังเพลงและรายการวิทยุจากประเทศอาเซี่ยน
more Cambodia Brunei Darussalam   Myanmar
Philippines Malaysia
All Asia Radio Station Singapore Vietnam Laos

 
 

ประวัติหมู่บ้านนาโพธิ์

โดย ประสงค์ เนืองทอง ศศ. บ.








    






















































































































































 
 
 
 

 

  

ตอนที่ ๑

อาณาจักรและชาติเดิมในแหลมทอง

 

ดินแดนแหลมทอง ก่อนที่ไทยจะลงมาปกครองนั้น ๑ปรีชา พงศ์ภมร ได้ทำการรวม

รวมและเรียบเรียงไว้ ในหนังสือ ๔๕ กษัตริย์ไทย ว่า แบ่งเป็นอาณาจักรใหญ่ๆ ๓ อาณาจักร คือ

๑. อาณาจักรละว้า อยู่บนแหลมทองตอนกลางระหว่างขอมกับมอญ เป็นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขงตอนเหนือและตะวันออก
ได้แก่ ดินแดนที่เป็นที่ตั้งจังหวัด เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี และร้อยเอ็ดทุกวันนี้

พวกละว้า บัดนี้แทบสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว เหลืออยู่ตามป่าเขาบ้างเล็กน้อย มีภาษาพูดคล้ายภาษาขอมโบราณ สันนิษฐานกันว่า ละว้าอาจสืบเนื่องมาจากขอมโบราณเหมือนกัน

ในบรรดาชาติใหญ่ๆ ทั้ง ๓ ในสุวรรณภูมิ คือ ละว้า มอญ ขอม นั้น ละว้าหรือลาวนั้น

เป็นชาติที่สำคัญที่สุด มีภูมิลำเนาอยู่ตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฟาก ก่อนที่ขอมจะแผ่เข้าคุ้มครองแผ่นดิน
แถบนี้ ลาวได้แยกกันอยู่ ๓ อาณาจักร คืออาณาจักรลาวโคตรบูร หรือ พนม มีเมืองนครพนมหรือสกลนครเป็นราชธานี
ได้แก่ ดินแดนบริเวณจังหวัดต่างๆ ที่เป็นมณฑลนครราชสีมาและอุดรธานีเดิม )
( ๒) อาณาจักรลาวโยนกหรืออาณาจักรยาง อันมีเมืองเงินยาง ( หรือเชียงแสนริมแม่น้ำโขงเดี๋ยวนี้เป็นเมืองร้าง) เป็นราชธานี
( ได้แก่ดินแดนในบริเวณจังหวัดต่างๆ เดี๋ยวนี้ ที่เป็นมณฑลพายัพเดิม)
( ๓) อาณาจักรลาวทราวดี มีเมืองนครปฐมเป็นราชธานี ( ได้แก่ดินแดนบริเวณจังหวัดต่างๆ
เดี๋ยวนี้เป็นจังหวัดพระนคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครปฐม ราชบุรี สระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ และพิษณุโลก )

๒. อาณาจักรมอญอยู่ทางลุ่มแม่น้ำคงตอนใต้และลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนใต้ มอญมีอาณาจักรอยู่ทางตะวันตกของสุวรรณภูมิมาแต่โบราณกาล ก่อนพม่าซึ่งชาวเขารุกรานลงมาจากธิเบต ครั้งกาลล่วงมาอาณาจักรมอญก็เสื่อมอำนาจลงทุกที จนกระทั่งตกเป็นของพม่าจนถึงทุกวันนี้ มอญและขอมเชื่อกันว่าเป็นเผ่าเดียวกัน อพยพมาจากอินเดียภาคใต้ ปะปนกับพวกพื้นเมืองเดิมบนสุวรรณภูมิ
เพราะภาษาพูดเป็นภาษาของขอมโบราณเหมือนกัน

๑ปรีชา พงศ์ภมร, ๔๕ กษัตริย์ไทย ; หน้า ๒๘– ๓๐

๓. อาณาจักรขอม ขอมที่จะกล่าวนี้ ไม่ใช่เขมรในปัจจุบัน อาณาจักรเขมรในปัจจุบันนี้
เดิมเป็นของขอมโบราณ ซึ่งบัดนี้เกือบสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว เพราะถูกไทยที่อพยพลงมาปะปน
กลายเป็นเขมรไปหมด ฉะนั้นเขมรปัจจุบันก็คือไทยพวกหนึ่งนั่นเอง ขอมแท้ๆ ยังมีอยู่บ้างตาม
ป่าดงบางแห่งเรียกกันว่า “ ขอมดำ” แต่มีจำนวนน้อยมาก ภูมิลำเนาของขอมอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง
ตอนใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งประเทศเขมรในปัจจุบัน

ขอมเริ่มมีอานุภาพขึ้น ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑
ในเวลานั้นขอมมีอาณาจักรเล็กมากเล็กกว่าโคตรบูรหรือพนมอันเป็นอาณาจักรของชนชาติละว้า เสียอีก
อาณาจักรโคตรบูรเจริญมาหลายศตวรรษแล้ว เมื่อเสื่อมลง ขอมก็เริ่มมีอำนาจขึ้น วีรบุรุษของขอม
คนหนึ่ง ชื่อเชลลา มีอำนาจมาก ได้ทำสงครามแผ่อาณาจักรขอมออกไปอย่างกว้างขวางเป็นอันมาก
ราชธานีของขอมในเวลานั้นอยู่ที่นครพนม ศูนย์กลางความเจริญของขอม อยู่โดยรอบฝั่งทะเลสาบ

ในเวลานั้นลาวอ่อนอำนาจลง ขอมจึงฉวยโอกาสเข้าครอบงำอาณาจักรลาวโคตรบูรทางฝั่งตะวันออก
ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับขอมได้เมื่อ พ. ศ. ๑๑๐๐ และเมื่อถึง พ. ศ. ๑๔๐๐
ก็แผ่อิทธิพลเข้าครอบงำอาณาจักรลาวทราวดีและเลยตลอดไปถึงลาวยางหรือโยนกด้วย
อิทธิพลของขอมในยุคนั้นจึงแผ่ไปทั่วลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ขอมได้รวบรวมอาณาจักรโคตรบูรเข้ากับขอม
แบ่งอาณาจักร ทราวดีออกเป็น ๑ มณฑล ส่งคนเข้าปกครองอย่างเมืองขึ้น
มณฑลฝ่ายเหนือมีสุโขทัยเป็นศูนย์กลาง และมณฑลฝ่ายใต้มีเมืองละโว้เป็นศูนย์กลาง
ส่วนอาณาจักรยางหรือโยนกนั้น ลาวจัดการปกครองกันเอง แต่อยู่ในอารักขาของขอม และต้องส่งราชบรรณาการให้แก่ขอมด้วย

ขอมเรืองอำนาจอยู่ราว ๒๐๐ ปี พอถึง พ. ศ. ๑๖๐๐ พม่าซึ่งเป็นเชื้อสายพวกธิเบต
ได้อพยพเข้ามาสู่ ในดินแดนมอญ ซึ่งมีอำนาจขึ้นในยุคนี้เหมือนกัน โดยพระเจ้าอโนราชามังช่อกษัตริย์พม่า

ปราบมอญไว้ในอำนาจหมด และเมื่อขอมอ่อนกำลังลงดังนี้ พม่าก็เลยรุกรานอาณาจักรโยนก
และอาณาจักรทราวดีของขอมทันที ขอมหมดอำนาจที่จะต่อสู้ จึงปล่อยให้พม่าปกครองอาณาจักรลาวทั้งสอง
ต่อไปอีก ๒๐๐ ปี ถึงราว พ . ศ. ๑๘๐๐ พม่าก็อ่อนอำนาจลงอีก ในยุคเดียวกันนี้ไทยได้เข้าตั้งอยู่
ในอาณาจักรทราวดีตอนเหนือ อันมี เมืองสุโขทัย เป็นศูนย์กลางแล้ว ขอมจึงฉวยโอกาส
เข้าครอบครองอาณาจักรลาวไว้อีกราว ๙๕ ปี
ไทยแคว้นทราวดีฝ่ายเหนือ ก็ขับไล่ออกไปเป็นเจ้าใหญ่ในดินแดนแถบนี้ ตั้งแต่ปี ๑๘๒๐ เป็นต้นมา

๑ปรีชา พงศ์ภมร , ๔๕ กษัตริย์ไทย ; หน้า ๓๐– ๓๓

 

 

ตอนที่ ๒

ตำนานแห่งการกำเนิดเผ่าพันธุ์

 

ในพงศาวดารเมืองแกง ( ปัจจุบันคือเมือง เดียนเบียนฟู อยู่ในภาคเหนือของเวียตนามต่อกับประเทศลาว) กล่าวถึงตำนานการเกิดของมนุษย์และต้นกำเนิดของชาวผู้ไทยว่า เกิดจากเทพยดา ๕ พี่น้อง กับเทพธิดา
ทั้ง ๕ ซึ่งเป็นภรรยาของเทพยดาดังกล่าว เทพยดา ๕ พี่น้องกับเทพธิดาทั้ง ๕ เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์มาช้านานจวนจะจุติ ( ตายเพื่อที่จะเกิดใหม่) จึงอธิษฐานร่วมจิตเนรมิตรน้ำเต้าขึ้นมาเทพทั้ง ๑๐ ก็เข้าไปอยู่ในน้ำเต้า น้ำเต้าลอยมาตกบนภูเขาที่ทุ่งนาเตา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองแถงไปทางทิศตะวันออก เป็นระยะทางเดิน ๑ วัน น้ำเต้าได้แตกออกมาเป็นมนุษย์ชายหญิง
๑๐ คน โดยมนุษย์ที่ออกมาหน้าตาไม่เหมือนกัน ข่าแจะออกมาก่อน ผู้ไทยดำออกมาเป็นที่ ๒ ลาวพุงออกมา
เป็นที่ ๓ ฮ่อ( จีน) ออกมาเป็นที่ ๔ แกว( ญวน) ออกมาเป็นที่ ๕ มนุษย์ทั้ง ๑๐ เดินลงจากภูเขา มนุษย์ ๔ พวกหลังได้ลงไปอาบน้ำชำระกายและดื่มน้ำในหนองฮกหนองฮายที่เชิงเขาซึ่งเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์และ
เย็นใสสะอาด ใครได้อาบได้กินแล้วร่างกายจะผ่องใส สะอาดงาม และมีสติปัญญารู้คิดราชการบ้านเมืองได้ แต่ข่าแจะ ซึ่งออกมาก่อนกลัวหนาว ไม่ยอมลงไปอาบน้ำในหนองดังกล่าว คนพวกนี้จึงมีรูปกายหมองคล้ำมัวมอมสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้



( บทความวิจัยเรื่อง วิถีครอบครัวและชุมชนอีสาน ๑๑ กลุ่มชาติพันธุ์ : กรณีผู้ไทย
( สุวิทย์ ธีรศาศวัต และณรงค์ อุปัญญ์ ดูอ้างอิง)

พวกผู้ไทย ลาว ฮ่อ และญวน ได้แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเมือง ผู้ไทยตั้งบ้านเมืองที่เมืองแถง มีขุนลอคำเป็น
หัวหน้า ต่อมาผู้ไทยได้เพิ่มจำนวนถึง ๓๓, ๐๐๐ คน และขยายตัวออกไปเป็นหลายเมือง
เป็นประชากรส่วนใหญ่ของพื้นที่ ซึ่งเรียกว่า สิบสองจุไทย เมื่อขุนลอคำสิ้นชีพ ขุนบรมราชาได้เป็นเจ้าเมืองแถงต่อมา ขุนบรมมีบุตรชื่อขุนลอ ซึ่งเป็นผู้มาตั้งเมืองหลวงพระบาง เจ้าเมืองแถงสืบต่อจากขุนลอคำจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ ( พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) มาจาก
เมืองแถงก็มี มาจากเมืองที่อยู่ในเขตลาวก็มี มาจากเมืองที่อยู่ในเขตญวนก็มี มีจำนวนรวมกัน ๑๔ คน แต่เจ้าเมืองแถง ๘ คน หลัง ๖ คน
แต่งตั้งโดยเจ้าเมืองญวน ๒ คน แต่งตั้งโดยเจ้าเมืองหลวงพระบางแสดงให้เห็นอิทธิพลของญวนค่อนข้างมากในระยะหลัง

นายพลตรีพระยาฤทธิรงค์รณเฉท
( ศุข ชูโต) 2507 : 103-114)

ชาวภูไทยในสมัยแรกๆ อาจแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ ผู้ไทยขาว พวกนี้อยู่ทางเหนือของ
เวียตนามใกล้จีน มี ๔ เมือง คือ เมืองไล เมืองบาง เมืองทมุน เมืองเจียน พวกนี้อยู่ในแถบอากาศค่อนข้างหนาวจึงมีผิวขาว
อีกทั้งได้รับอารยธรรมจากจีนหลายอย่าง โดยเฉพาะการแต่งกายในพิธีศพนิยมนุ่งขาวห่มขาว จึงเรียกผู้ไทยขาว จึงเรียกผู้ไทยขาว
อีกกลุ่มหนึ่งคือ ผู้ไทยดำ อยู่บริเวณเมืองแถง เมืองควาย เมืองคุง เมืองม่าย เมืองลา เมืองโมะ เมืองหวัด เมืองชา
รวม ๘ เมือง พวกนี้มีผิวคล้ำกว่าผู้ไทยขาว นิยมแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายย้อมครามเข้มและอาศัยแม่น้ำดำเป็นแหล่งทำมา
หากิน จึงเรียกว่าผู้ไทยดำ ๒ กลุ่มนี้รวมเป็น ๑๒ เมือง จึงเรียกว่าแคว้นสิบสองจุไทย

( สุรัตน์ วรางค์รัตน์ ๒๕๒๔ : ๙, เสนอ นาระคล, ๒๕๑๖)


ใน พ. ศ. ๒๒๕๐ อาณาจักรล้านช้างได้แตกเป็น ๒ อาณาจักร คือ ทางเหนือเรียกว่า
อาณาจักรลานช้างร่มขาวหลวงพระบาง ทางใต้เรียกว่า อาณาจักรลานช้างร่มขาวเวียงจันทร์
สิบสองจุไทย หัวพันห้าทั้งหก อยู่ภายใต้การดูแลของอาณาจักรลานช้างร่มขาวหลวงพระบาง

( ประชุมพงศาวดารเล่ม ๔, ๒๕๐๖ : ๓๓๖)

การอพยพของชาวผู้ไทยเป็นจำนวนมากจากเมืองแถง หรือนาน้อยอ้อยหนูนั้น พระโพธิ
วงศาจารย์ ( ติสโส อ้วน) กล่าวไว้ในประวัติชนชาติผู้ไทยว่า สาเหตุของการอพยพเกิดจากสาเหตุ
สองประการ ประการแรก “ บังเกิดการอัตตคัตอดอยาก”
ประการที่สอง เกิดจากความขัดแย้งระหว่างท้าวก่าหัวหน้าของชาวภูไทยกับเจ้าเมืองนาน้อยอ้อยหนู
( ต้นฉบับเรียกเมืองน้ำน้อยอ้อยหนู) ท้าวก่าจึงพา

ชาวผู้ไทยชายหญิงประมาณหมื่นคนมาขอขึ้นกับเจ้าอนุรุทกุมาร เจ้าเมืองเวียงจันทร
์ ( คือเจ้าอนุวงศ์ ครองราชย์ ๒๓๔๘– ๒๓๗๑)
เจ้าอนุรุทกุมารถามชาวภูไทยว่า เมื่ออยู่เมืองนาน้อยอ้อยหนูเคยประกอบการหาเลี้ยงชีพ
อย่างไร ชาวผู้ไทยบอกว่าเคยทำแต่ไร่ ปลูกข้าว( ข้าวไร่) และสวนผลไม้ต่างๆ แต่ทำนาไม่เป็น เจ้าอนุรุทกุมารจึงให้ชาวภูไทยไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองวัง ซึ่งเป็นป่าเป็นเขา ไม่ค่อยมีที่ราบ เป็นที่อยู่ของพวกข่า
ซึ่งไม่ได้ขึ้นกับพวกใด และไม่มีใครปกครอง ชาวผู้ไทยจึงอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองวัง มีความขัดแย้งกับพวกข่าอยู่บ้าง แต่ข่าสู้ชาวผู้ไทยไม่ได้ก็ยอมขึ้นกับผู้ไทย เจ้าอนุรุทกุมาร

จึงแต่งตั้งให้ท้าวก่าเป็นพระยาก่า ตำแหน่งเจ้าเมืองวังและทุกสิ้นปีให้เมืองวังต้องส่งส่วยมีดโต้ และขวานให้เวียงจันทร์ปีละ ๕๐๐ เล่ม แต่อย่างไรก็ตามพระยาก่าเห็นว่าเมืองของตนอยู่ติดกับเขตแดนเมือง
คำรั้ว ซึ่งเป็นเมืองของชนชาติญวน พระยาก่ากลัวว่าพวกญวนจะมาตีเอาบ้านเมืองจึงได้ส่งส่วยขี้ผึ้ง ๕ ปึก
( ปึกหนึ่งหนัก ๕ ชั่ง) ให้แก่เจ้าเมืองคำรั้วด้วย                       

( พระโพธิวงศาจารย์ ; ๓๕๗ - ๓๖๐)

 

จากคำบอกเล่าของคนเก่าโบราณเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนถึงตำนานการอพยพของชนพื้น
เมืองในภาคอีสานเผ่าต่างๆ ล้วนมีความเกี่ยวข้องกันมาเปรียบปานพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องเผ่าผู้ไทย เผ่าย้อ เผ่ากะเลิง เผ่าโย้ย เผ่าข่ากะโซ่ก็ตาม ต่างรับรู้ตำนานที่บรรพบุรุษเล่าสืบต่อกันมา ดังนี้

 

ชาวภูไท ( ผู้ไทย) อพยพมาจากเมืองน้ำน้อยอ้อยหนู มาอยู่ที่เมืองวังอ่างคำ พวกข่าเมืองวังอ่างคำเป็นอิสระไม่มีการส่งส่วยสาอากรแก่เมืองใด แต่ชาวภูไทตระหนักในพระคุณของพระเจ้าศรีสัตตนาคนหุต
( เจ้าอนุรุทกุมาร หรือเจ้าอนุวงศ์ ผู้เขียน) ดังนั้นเมื่อตั้งหลักฐานบ้านเรือนมั่นคงแล้วจึงส่งส่วยไปถวายเป็นพร้ามีดโต้ปีละ ๓๐ เล่ม
( ตามคำบอกเล่า น่าจะยังไม่รวมกับขวาน ด้วย - ผู้เขียน ) ทุกๆ ปี ความเรื่องนี้ทราบถึงพวกข่าจึงเกิดความไม่พอใจ พวกข่าเริ่มระแวงและไม่ไว้วางใจเพราะเกรงว่าพวกผู้ไทยนำพวกตนไปอ่อนน้อมขึ้นต่อกรุงศรีสัตตนาคนหุต จึงคิดจะรวบอำนาจ ปกครองชาวผู้ไทยให้อยู่ในเอื้อมมือ แต่ชาวผู้ไทยรู้ทันจึงคิดจะรวบอำนาจปกครองชาวข่าไว้ในทำนองเดียวกัน ในที่สุดชาวผู้ไทยกับชาวข่าก็ใช้กำลังเข้ารบกันเป็นสามารถ ในระหว่างที่ยังไม่มีฝ่ายใดแพ้ชนะนั้น พ่อขุนพระเยาว์ซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายผู้ไทย ( ผู้เขียนสันนิษฐานว่าคือพระยาก่า ) ก็เสนอเงื่อนไขว่า การต่อสู้กันด้วยกำลังมีแต่จะเกิดการล้มตาย ไร้ประโยชน์ เปรียบประดุจสาดน้ำรดกันย่อมต้องเปียกปอนทั้งสอง
ฝ่าย การที่ผู้ใดจะเป็นใหญ่เป็นโตปกครองผู้คนนั้นควรเป็นบุคคลที่มีบุญวาสนา มีสติปัญญาอันแก่กล้า และการที่จะรู้ว่าบุคคลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจะกระทำได้โดยการเสี่ยงบุญวาสนากันที่หน้าผา โดยให้ทั้งสองฝ่ายจัดทำหน้าไม้ไปยิงหน้าผาเสี่ยงบารมี หากลูกหน้าไม้ไปปักเสียบติดหน้าผา ถึง ๓ ครั้ง ผู้นั้นแหละสมควรจะได้เป็นใหญ่เป็นโตปกครองผู้คนได้ ชาวข่าก็เห็นด้วยและตกลงจะเสี่ยงบารมีตามนั้น
ฝ่ายชาวข่าได้สร้างหน้าไม้ที่แข็งแรง ยาวถึง ๓ ศอก ด้วยหวังจะให้ลูกหน้าไม้เกิดกำลังพุ่งแรงจะได้ฝังติดกับหน้าผาได้ ส่วนชาวผู้ไทยไม่ได้ทำเช่นนั้น กลับทำหน้าไม้ขาอ่อนและใช้ “ ขี้สูด” ( เป็นส่วนที่ได้จากรังของแมลงชนิดหนึ่งซึ่งทำรังอยู่ในพื้นดิน เพื่อเป็นที่เก็บสะสมน้ำหวาน มีลักษณะเป็นยางเหนียวสีดำช่างทำแคนนิยมใช้เป็นวัสดุอุดแคน) ติดไว้ที่ปลาย
ลูกไม้ ถึงวันนัดหมายต่างจัดขบวนแห่แหนหน้าไม้ของฝ่ายตนไปยังหน้าผาที่นัดหมาย ฝ่ายข่าเป็นฝ่ายยิงก่อน ยิงหน้าไม้ไปสามครั้งลูกหน้าไปไปกระทบหน้าผาซึ่งเป็นหินแข็งก็กระเด็นตกลงมาทั้งสามครั้งสามครา ฝ่ายชาวผู้ไทยเป็นผู้ยิงทีหลังลูกหน้าไม้พุ่งไปกระทบหน้าผาเบาๆ
ขี้สูดที่ติดอยู่ปลายลูกหน้าไม้ซึ่งมีความเหนียวหนับทำให้ลูกหน้าไม้จับติดกับหน้าผาอย่างง่ายดาย ชาวข่ามองเห็นเป็นอัศจรรย์จึงพากันอ่อนน้อมยอมอยู่ใต้ปกครองของชาวผู้ไทยตามสัญญา แต่ยังมีชาวข่าบางส่วน
ไม่ยินยอม จึงพากันหลบหนีเข้าไปซ่อนตัวอยู่ตามถ้ำตามเขา ฝ่ายผู้ไทยจึงได้ยกกำลังออกไปสกัดที่หน้าผา
แห่งหนึ่ง แต่ไม่ทันจึงติดตามร่องรอยไปจนถึงหน้าผาอีกแห่งหนึ่ง พบรอยเท้าใหญ่เล็กหายเข้าไปในถ้ำ ฝ่ายผู้ไทยจึงใช้พริกแห้งมากองที่ปากถ้ำแล้วจุดไฟเผาเพื่อให้ควันรมเข้าไปในถ้ำ
ชาวข่าที่หลบซ่อนอยู่ภายในถ้ำทนสำลักควันไฟที่เผาพริกไม่ไหว ก็พากันออกมายอมอ่อนน้อมแต่โดยดี
หน้าผาที่ชาวผู้ไทยรมควันพริกแห่งนี้เรียกว่า“ ผาอูด”
ชาวข่าเห็นว่าพ่อขุนพระเยาว์เป็นผู้มีบุญบารมีแก่กล้า จึงได้ยกลูกสาวหัวหน้าให้ชื่อเจ้ากล่ำ

เทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๒๒ ; สามารถ หาดสูง , ๒๕๔๖, น. ๓- ๕

 

 

 

ตอนที่ ๓

แผ่นดินเดิม

พ . ศ. ๒๓๑๙
รัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ( พระเจ้าตากสินมหาราช)

เมืองนางรองอันเป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมาเกิดทะเลาะกันขึ้นกับพระยานครราชสีมา
จึงไปขอขึ้นกับพระเจ้าโอเมืองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งตั้งตนเป็นอิสระอยู่ เจ้าโอเห็นว่าไทยกำลังติดศึกอยู่กับพม่าก็นับเมืองนางรองไว้ พระยานครราชสีมาจึงกราบทูลมายังกรุงธนบุรีว่าพระยานางรองเป็นกบฎ พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้พระยาจักรีออกไปปราบปราม
เจ้าพระยาจักรียกไปถึงเมืองนางรอง จับเจ้าเมืองนางรองได้พิจารณาเป็นสัตย์ให้ประหารชีวิตเสีย ปราบปรามเมืองนางรองเรียบร้อยแล้วทราบว่าเจ้าโอเมืองนครจำปาศักดิ์คุมพล ๑๐, ๐๐๐ จะมาตีเมือง
นครราชสีมา เจ้าพระยาจักรีจึงกราบทูลมายังกรุงรับสั่งให้พระยาสุรสีห์ยกขึ้นไปช่วย และให้ปราบเมืองนครจำปาศักดิ์ด้วย เจ้าพระยาทั้งสองจึงไปตีเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าโอหนีไป เจ้าพระยาทั้งสองยกตามไปได้เมืองโขง เมืองอัตปือ
( อัตตะปือ) มาเป็นขอบเขตอีก และเกลี้ยกล่อมให้เมืองสุรินทร์ สังขวะและขุขันธ์อีก ๓ เมือง มาเป็นข้าขอบขัณฑสีมา
แล้วยกกองทัพกลับมายังกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงทรงตั้งให้เจ้าพระยาจักรีเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
มียศอย่างเจ้าต่างกรม และคงเป็นสมุหนายกอย่างเดิม

 

พ . ศ. ๒๓๒๑



กรุงธนบุรีเกิดสงครามกับเวียงจันทร์
สาเหตุเนื่องจากพระวอ เดิมเป็นเสนาบดีเมืองเวียงจันทร์เกิดรบพุ่งกับเจ้าเมืองเวียงจันทร์
พระวอสู้ไม่ได้จึงหนีมาอยู่นครจำปาศักดิ์ ๒แล้วพาสมัคร พรรคพวกส่วนหนึ่งอพยพจากนครเวียงจันทร์มาพึ่งบรมโพธิสมภารกรุงธนบุรีและ
๑ตั้งริมแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองอุบล ๒ เมืองหนองบัวลำภู ( จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน)
ตั้งขึ้นเป็น “ เมืองนครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้วบัวบาน” ๑ คราวไทยยกไปตีเมืองนครจำปาศักดิ์ พระวอมาอ่อนน้อม
ขึ้นต่อกรุงธนบุรี ครั้งกองทัพกรุงธนบุรีกลับแล้ว เจ้าเวียงจันทร์ให้กองทัพมาจับพระวอฆ่าเสีย ๒พระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและถือว่าเป็นเขตแดนของกรุงธนบุรี จึงทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ( รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
และเจ้าพระยาสุรสีห์( สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล) ยกกองทัพขึ้นมาปราบปรามกองทัพ
เวียงจันทร์ ๑ประชุมทัพที่เมืองนครราชสีมา สมเด็จเจ้าพระยาฯ คุมพล ๒๐, ๐๐๐ ยกไปทางบก
เจ้าพระยาสุรสีห์ คุมพล ๑๐, ๐๐๐ ยกไปทางเรือบรรจบกันที่เมืองเวียง จันทร์

๑ ปรีชา พงศ์ภมร, ๔๕ กษัตริย์ไทย ; หน้า ๓๗๘– ๓๘๐๒
สุรจิตต์ จันทรสาขา , จังหวัดนครพนมในอดีต ; เอกสารหน้า ๔

 

โดยหลักฐานอ้างอิงจากพงศาวดารเมืองนครพนม ฉบับ พระยาจันตประเทศธานี
( โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนครปี พ. ศ. ๒๔๕๗) ฯลฯ ดูอ้างอิง ๒ โดยยกทัพขึ้นตาม
ลำน้ำโขงและตีเมืองต่างๆ ตั้งแต่นครจำปาศักดิ์ขึ้นมาจนถึงนครเวียงจันทร์
ให้ขึ้นกับกรุงธนบุรี เมืองมรุขนครจึงรวมอยู่ในข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงธนบุรีตั้งแต่ครั้งนั้นมา
๑ เมืองหลวงพระบาง ทราบว่ากองทัพกรุงธนบุรีขึ้นไปตีเมืองเวียงจันทร์ คิดเห็นว่าหาก
สมเด็จเจ้าพระยาฯ ตีเมืองเวียงจันทร์ได้ ก็คงยกขึ้นไปตีเมืองหลวงพระบางด้วยเป็นแน่นอน
กอร์ปทั้งตนเป็นอริอยู่กับเจ้าเมืองเวียงจันทร์ด้วย จึงแต่งทูตมาหาสมเด็จเจ้าพระยาฯ ขออาสา
ช่วยตีเวียงจันทร์ และขอขึ้นเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงธนบุรีด้วยสืบไป
เจ้าเมืองเวียงจันทร์ทำการต่อสู้อยู่ ๔ เดือน เห็นเหลือกำลังต่อสู้ก็หนีไปทางเมืองคำเกิด
ต่อแดนญวน สมเด็จเจ้าพระยาฯเข้าเมืองได้ ทำการสงครามกับเวียงจันทร์ครั้งนี้มีชัยชนะแล้ว
อาณาเขตของไทยก็ขยายออกไปทางตะวันออกและเหนือแดนญวนและตังเกี๋ย เมื่อยกกองทัพ
กลับมาสมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้อัญเชิญพระมหามณีรัตนปฏิมากรพระแก้วมรกต ที่หลวงพระบาง
ลงมาด้วยซึ่งมาประดิษฐาน เป็นพระพุทธรูปอันเป็นที่เคารพสักการะ
ของประชาชนชาวไทยจนทุกวันนี้ ๒ พระบรมราชา ( กุแก้ว) เจ้าเมืองมรุกขนคร
ได้หลบหนีกองทัพไทยไปอยู่ที่เมืองคำเกิด คำม่วน ได้ ๕- ๖ เดือน จึงกลับมาเมืองมรุกขนครและยอมสวามิภักดิ์ต่อกรุงธนบุรี
และได้ถึง แก่กรรมในปี พ . ศ. ๒๓๒๑ นั่นเอง รวมเวลาที่ครองเมืองมรุกขนคร รวม ๑๒ ปี

 

รัชกาลที่ ๓
พ. ศ. ๒๓๖๙
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

๒ พระเจ้าอนุรุทธกุมาร ( เจ้าอนุวงษ์) เวียงจันทร์ ๑ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยมาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์คิดกบฏ ให้บุตรที่นครจำปาศักดิ์ยกทัพมายึดเมืองอุบลและเรื่อยเข้ามา
ส่วนเจ้าอนุวงษ์กับเจ้าสุทธิสารเข้ายึดนครราชสีมา ลวงว่ากรุงเทพฯกำลังรบกับอังกฤษ และจะยกมาช่วยกรุงเทพฯ เมื่อเข้านครราชสีมาได้แล้วก็กวาดต้อนผู้คนอพยพไปเวียงจันทร์ ในตอนนั้นได้ปรากฏวีระสตรีของ
ไทยผู้หนึ่ง คือ “ ท่านหญิงโม” ซึ่งได้ถูกกวาดต้อนไปด้วยได้ใช้อุบายตีพวกเจ้าอนุแตกกลับไป ต่อมาภายหลังได้เป็น
“ ท้าวสุรนารี” ทางกรุงได้ทราบ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นจอมทัพยก
ขึ้นมาปราบปราม กองทัพเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทร์โดยมีเจ้าพระยาบดินทร์เดชา ( สิงห์ สิงหเสนีย์) เป็นแม่ทัพหน้า เจ้าพระยาบดินทร์เดชาได้ยกกองทัพขึ้นมาปราบปรามและในที่สุดได้มาตั้งทัพอยู่ที่เมืองนครพนม ส่วนพระบรมราชา( มัง)
เจ้าเมืองนครพนม ได้ถูกเจ้าอนุวงษ์บังคับให้พาหลบหนีกองทัพไทยข้ามโขงไปตามลำน้ำเซบั้งไฟ
( อยู่ตรงข้ามกับ อำเภอธาตุพนม) และไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองมหา

 

๑ ปรีชา พงศ์ภมร , ๔๕ กษัตริย์ไทย ; หน้า ๔๓๒– ๔๓๔
๒ สุรจิตต์ จันทรสาขา , จังหวัดนครพนมในอดีต ; เอกสารหน้า ๔, ๙

 

 

โดยหลักฐานอ้างอิงจากพงศาวดารเมืองนครพนม ฉบับ พระยาจันตประเทศธานี
( โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร ปี พ. ศ. ๒๔๕๗ ) ฯลฯ ดูอ้างอิง กองทัพไทยได้ติดตามกวาดล้างไปถึง
เมืองมหาชัยกองแก้ว และจับตัวเจ้าอนุวงษ์ได้โปรดให้นำตัวตัวมาขังไว้ในกรุงเทพฯ จนตาย
ในตอนนี้เอง ๓ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เรียบเรียงไว้ว่า ๓จึงได้คุมตัวเจ้านครจำปาศักด ิ์
( หมาน้อย) ลงมายังกรุงเทพฯ ฐานหย่อนสมรรถภาพ และเลยถึงแก่พิลาลัยที่กรุงเทพฯ
เมื่อ พ. ศ. ๒๓๖๒ ๒ พระบรมราชา ( มัง) เจ้าเมืองนครพนมและพระพรหมอาษา ( จุลณี) เจ้าเมืองมหาชัยกองแก้วได้พาครอบครัวหนีกองทัพไทยไปหลบซ่อนอยู่ในเขตแดนญวน
จนต่อมาพระพรหมอาษาเจ้าเมืองมหาชัยได้ถึงแก่กรรมในแดนญวน

๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ทรงมีพระทัยโกรธเคืองญวนเป็นอันมากที่แสดงตนเป็นอริกับไทย
ด้วยการอุดหนุนเจ้าอนุเป็นกบฎขึ้น จึงโปรดให้ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา ( สิงห์ สิงห์เสนีย์) ยกกองทัพไปทางเขมรแล้วให้เลยไปถึงไซง่อน ก็พอดีปะทะกับกองทัพญวน การสงครามกับญวน
คราวนี้ผลัดกันแพ้ชนะกินเวลาถึง ๑๕ ปี ในที่สุดก็เลิกลบกัน และทรงอภิเษกให้ นักองค์ด้วงที่เข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
เมื่อรัชกาลที่ ๒ ขึ้นครองราชสมบัติในกัมพูชาต่อไป
ทรงพระนามว่า “ สมเด็จพระบริรักษ์รามาธิบดี” ซึ่งขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ
นายวิลเฟรด เบอร์เซตต์ (Wilfred Burchett) นักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ
ซึ่งได้เดินทางไปเยือนถิ่นของข่าหรือลาวเทิงได้เขียนไว้ว่า : “ ประวัติของพวกลาวเทิงนั้น
ทั้งน่ามหัศจรรย์จับใจและน่าเศร้าสลด. พวกลาวเทิงแตกแยกกันออกเป็นเผ่าต่างๆ ถึงราวสี่สิบเผ่า, ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามป่าเขาทางลาวใต้และในที่ราบสูงที่เรียกว่า ที่ราบสูงบริเวณ (Bolevens Plateau.)
ในสมัยหนึ่งนั้น ข่าเผ่าเดียวเคยมีจำนวนคนถึง ๓๐๐, ๐๐๐ คน, แต่ได้ถูกลดจำนวนลงจนเหลือเพียงไม่กี่พันเพราะการสังหารหมู่ของพวกคนไทย.
นิยายเก่าๆ ของลาวเทิงยังมีเล่ารำลึกถึงทุ่งนาที่นองไปด้วยเลือด, แม่น้ำลำธารอืดตันและหุบเขากองท่วมท้น
ไปด้วย ทรากศพ. พวกที่รอดพ้นการสังหารหมู่มาได้ก็ถูกพวกคนไทยกวาดต้อนไปเป็นข้าทาษหรือ
ขายให้แก่ลาวลุ่ม เพื่อใช้เป็นทาศ. นี่แหละคือที่มาแห่งนามของเขาที่เรียกว่า ข่า. การต่อสู้ของข่า
ทางลาวใต้ สลบสลายไปใน พ. ศ. ๒๓๖๒

 

พ . ศ. ๒๓๗๗

๒พระยามหาอำมาตย์( ป้อม อมาตยกุล) ได้ยกทัพขึ้นมาตั้งอยู่ที่เมืองนครพนมแล้วเกณฑ์กองทัพ
เมืองนครพนม, เมืองมุกดาหาร, เมืองเขมราฐ, เมืองอุบลราชธานี เมืองยโสธร ยกทัพข้ามโขงไป
กวาดต้อนพวกข่า, กะโซ่, กะเลิง แสก, ย้อ, และผู้ไทย ให้อพยพมาตั้งบ้านตั้งเมืองอยู่ในท้องที่
เมืองนครพนม, เมืองมุกดาหาร, เมืองสกลนคร และเมืองกาฬสินธุ์

๑ ปรีชา พงศ์ภมร , ๔๕ กษัตริย์ไทย ; หน้า ๔๓๒– ๔๓๔๔ ปูมเมืองสกลนคร ฉลอง ๑๕๐ปี หน้า ๑๗
๓ , ๔ จิตร ภูมิศักดิ์ , ความเป็นมาของคำสยามฯ น. ๓๓๙, ๓๔๐
( น. ๓๔๐ อ้าง Burchett, Mekong Upstream, Berlin , ๑๙๕๙, p. ๒๐๗)
๒ สุรจิตต์ จันทรสาขา , เมืองเรณูนครในอดีต ; เอกสารหน้า ๒๖
โดยหลักฐานอ้างอิงจากพงศาวดารเมืองนครพนม ฉบับ พระยาจันตประเทศธานี
( โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนครปี พ. ศ. ๒๔๕๗) ฯลฯ ดูอ้างอิง

 

 

 

ตอนที่ ๔

ใต้ร่มโพธิสมภาร

 

พ . ศ. ๒๓๗๘
ปีมะแม ตรีศก จ . ศ. ๑๑๙๗

หลังจากที่พระพรหมอาษา ( จุลณี) เจ้าเมืองมหาชัยกองแก้วถึงแก่กรรมแล้ว อุปฮาด ( คำสาย)
และราชวงษ์ ( คำ) เมืองมหาชัยกองแก้วได้นำชาวเมืองมหาชัยกองแก้วซึ่งเดิมก็เป็นชาวนครพนม
ข้ามโขงกลับมาเพื่อขอพึ่งบรมโพธิ ิสมภารและสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพมหานคร พระยามหาอำมาตย์แม่ทัพจึงให้ไปตั้งเมืองอยู่ที่ริมน้ำหนองหาร บริเวณเมืองสกลทวาปีเก่า
( เมืองสกลทวาปีเดิม เป็นคนจากเมืองกาฬสินธุ์แต่ได้อพยพไปตั้งอยู่ที่พนมสารคาม และเมือง
ประจันตคามหมด) ต่อมาอุปฮาด ( คำสาย) เมืองมหาไชยกองแก้วได้ถึงแก่กรรม

จากบันทึกปูมเมืองสกลนครบันทึกว่า ๓อุปฮาดติเจา( คำสาย) ราชวงศ์ ( คำ) และท้าวอินทร์
น้องราชวงศ์ ( คำ) หลังจากที่กองทัพไทยตีเมืองมหาชัยกองแก้วแล้ว ได้หลบหนีกองทัพไทย
ไปอยู่ตามภูเขา หาได้หลบหนีเข้าแดนญวนไม่ ได้พาครอบครัวบ่าวไพร่ที่เหลือลงมาสู่
บรมโพธิสมภารพระเจ้ากรุงสยาม ได้เข้าหาแม่ทัพที่เมืองสกลทวาปี ( สกลนคร) เจ้าอุปราช
( ติสสะ) พร้อมกับพระมหาสงครามแม่ทัพ จึงได้แต่งตั้งให้ขุนศรีโยธานำตัวราชวงศ์ ( คำ) ท้าวอินทร์ ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่กรุงเทพฯ
โปรดเกล้าฯ พระราชทานนางเทพ นางจวง ขึ้นมาตามราชวงศ์( คำ) ท้าวอินทร์สามี ให้ตั้งบ้านเรือนที่เมืองสกลทวาปีและให้ข้ามโขงไปเกลี้ยกล่อมกวาดต้อนครอบครัว ที่เมืองมหาชัยกองแก้ว
ให้ข้ามโขงมาตั้งภูมิลำเนาใน เมืองสกล ทวาปี

จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์เบื้องต้น ทำให้ผู้เขียนสันนิษฐานได้ว่า ท้าวเพี้ยเมืองสูง
( พระอรัญอาสา) ได้พาข่ากระโซ่ ตลอดบ่าวไพร่จาก ๕ เมืองบ้ำ แห่งเมืองมหาชัยกองแก้ว ซึ่งเป็นเมืองที่มีไทโส้อยู่มากที่สุด
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ( หินบูรณ์ ภูแบ่ง แนวเดียวกันกับเทือกเขาภูพาน)
เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกุษมาร( กุดขมานหรือกุสุมาลย์ในปัจจุบัน) บริเวณบ้านเมืองเก่าในปัจจุบัน
ในช่วง ปี ๒๓๗๘ นี้เอง เนื่องจากเป็นปีที่ใกล้เคียงกับการแต่งตั้งให้เป็นเมืองกุสุมาลย์มณฆล
ซึ่งตามเหตุและผล การแต่งตั้งดังกล่าว หมู่บ้านจะต้องมีบ้านเรือนและมีผู้คนเป็นกลุ่มมากแล้ว

บ้านกุสุมาลย์ในปัจจุบัน เดิมชื่อ “ บ้านกุดขมาน” ตามชื่อลำห้วยขมานที่เรียกชื่อลำห้วยนี้ว่า “ ลำห้วยขมาน”
ก็เพราะตามริมห้วยมีต้นขมานขึ้นอยู่มากมาย ต้นขมานนี้บางคนเรียกต้นหมากหูลิง ท่านที่มาตั้งบ้านเรือนครั้งแรก
จึงตั้งชื่อบ้านว่าบ้านกุดขมาน ตามชื่อของลำห้วย แต่คนโบราณบางท่านก็เรียกว่า บ้านกุดสมาน บ้าง หรือ
บ้านอุชุมานบ้าง ยังมีคนเก่าแก่เล่าว่าคนที่มาตั้งบ้านเรือนบางท่านก็เรียก “ บ้านศรีสัตตนาค” ก็มี

จากการสอบถามคนเก่าแก่หลายท่านเล่าสืบต่อกันมาว่า บรรพบุรุษอพยพมาจากเมือง “ อู”
( เท่าที่ดูแผนที่ของประเทศลาว เมืองนี้อยู่ทางตอนเหนือซึ่งติดกับประเทศจีน ในแผ่นดินเขียนว่า“ อูเมือง”) เมือง
“ วัง” เมือง “ มหาชัย” เมือง “ ยมราช” จากคำบอกเล่าของคนเก่าโบราณเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน

นอกจากนั้นยังมี ๗ ผู้ไทยและข่ากะโซ่ที่อพยพม่า จัดตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มและตั้งชื่อว่าบ้าน
นาโพธิ์นามน ( บริเวณทุ่งนามนบ้านกกส้มโฮงปัจจุบัน) และยังตั้ง ๗ บ้านโพนขาว บ้านหนองเบ็น
( บ้านทั้งสองต่อมาได้ร้างไป) ตั้งแต่เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฎต่อกรุงเทพฯ เมื่อ พ. ศ. ๒๓๗๐
ครอบครัวทั้งสองบ้านถูกกวาดต้อนไปอยู่ภาคกลางที่เมืองพนัส เมืองพนม
เพราะเกรงว่าฝ่ายเจ้าอนุวงศ์จะล่อลวงกวาดต้อนไปเมืองเวียงจันทร์อีก บ้านกุษมารหรือบ้านกุดขมาน
ได้ตั้งขึ้นแล้ว ก็มีสมัครพรรคพวก ครอบครัวญาติวงศ์ ทางฝั่งซ้ายอพยพมาเพิ่ม มีบุตรหลานสืบต่อกันมา
จนมีประชากรพลเมืองหนาแน่นเป็นบ้านใหญ่ มีความเจริญ อุดมสมบูรณ์ มีที่นา ที่สวน
สำหรับทำกินไม่อดอยาก มีลำห้วยขมาน ลำห้วยโพธิ์ และลำห้วยกะเพอเป็นแหล่งน้ำจับปลาเป็นอาหารประจำวัน ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติของป่าก็มีสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ความป่า วัวป่า เก้ง กวาง ละมั่ง กระต่าย กระแต
หรือแม้แต่แรดซึ่งเป็นสัตว์ที่หายากก็มี ดังหลักฐานปรากฏว่ามีลำห้วยแห่งหนึ่งที่อยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านกุสุมาลย์
ชาวบ้านเรียกลำห้วยแห่งนี้ว่า “ ห้วยแฮด” ซึ่งเป็นลำห้วยที่แรดลงไปนอนแช่ปลักเพื่อพักคลายความร้อนในฤดูแล้ง
และเรียกลำห้วยแฮดมาจนถึงปัจจุบัน สัตว์จำพวกนกก็มีมากมาย เช่น ไก้ฟ้า ไก่ป่า นกยูง นกกระสา นกเขา นกกระทา นกแก้ว นกขุนทอง
แต่ในปัจจุบัน สัตว์ป่าเหล่านี้เหลืออยู่น้อยชนิดนัก นับว่าบ้านกุดขมานเป็นบ้านที่อุดมสมบูรณ์หมู่บ้านหนึ่งในเวลานั้น

พ . ศ. ๒๓๘๑ ปีจอ สัมฤทธิศก จ. ศ. ๑๒๐๐ ราชวงษ์( คำ) )
จากเมืองมหาชัยกองแก้ว ๔ ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมมีตราพระราชสีห์
ลงวันศุกร์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ ให้เปลี่ยนนามเมืองสกลทวาปี เป็นเมืองสกลนคร
ทรงแต่งตั้งให้ราชวงษ์ ( คำ) เป็นพระยาประเทศธานี ( คำ) เจ้าเมือง ( ระหว่าง พ. ศ. ๒๓๘๑ - ๒๔๑๙ )
ให้ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์มาเป็นอุปฮาดเมืองสกลนคร ให้ท้าวอินทร์บุตรอุปฮาด กิ่งหงษา เป็นราชวงศ์
ให้ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์มาเป็นราชบุตรเมืองสกลนคร และพระราชทานเครื่องยศให้พระยาประเทศธานี( คำ)
มีคนโทถมเงินหนึ่ง ขันหมากเงินหนึ่ง เครื่องในถมสำรับหนึ่ง กระบี่เงินหนึ่ง ปืนคาบศิลาหนึ่งกระบอก อุปฮาด
มี ถาดหมาก คนโทเงินสำรับหนึ่ง ราชวงศ์ มี ถาดหมาก คนโทเงินสำรับหนึ่ง ๒
อนึ่ง เนื่องจากเขตแดนเมืองกาฬสินธุ์ , เมืองหนองหาร, เมืองนครพนม
และเมืองมุกดาหารแบ่งเขตแดนกันที่คนละฝั่งของน้ำหนองหาร
จึงมีท้องตราพระราชสีห์ใหญ่ให้เมืองทั้งสี่นี้ แบ่งเขตแดนให้เมืองสกลนคร


( จากเอกสาร ร. ๓ จ. ศ. ๑๒๐๐ เลขที่ ๑๐ หอสมุดแห่งชาติ)

 

 

พ . ศ. ๒๓๘๔

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระมหาสงครามและเจ้าอุปราช ( ติสสะ) ซึ่งเป็นพระอนุชาของเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทร์
แต่ยอมสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพมหานคร มิได้ร่วมเป็นกบฎด้วยเป็นแม่ทัพยกขึ้นมาตั้งอยู่ที่เมืองนครพนม แล้วยกกองทัพไปกวาดต้อนผู้คนทางฝั่งซ้ายพร้อมด้วยกองทัพเมืองนครพนม , เมืองกาฬสินธุ์ ,
เมืองสกลนคร, เมืองหนองหาร, เมืองท่าอุเทน, เมืองหนองคาย เมืองมุกดาหาร, เมืองภูเวียง, เมืองเขมราฐ,
เมืองพลาน, เมืองจำพอน( ชุมพร), เมืองเชียงฮ่ม, เมืองผาบัง( อยู่ในแขวงสุวรรณเขต ดินแดนลาวปัจจุบัน)
บางเมืองผู้คนอพยพหลบหนีเข้าป่าไปเป็นจำนวนมาก บางพวกก็หลบหนีเข้าไปในเขตญวน( เวียตนาม) กองทัพไทยจุดไฟเผาบ้านเรือนเพื่อมิให้เป็นกำลังแก่ฝ่ายญวนอีก
( จากพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงษ์) ผู้คนที่อพยพข้ามมาครั้งนั้นได้มาตั้งขึ้น
เป็นเมืองกุฉินารายณ์, เมืองภูแล่นช้าง ในเขตเมืองกาฬสินธุ์, เมืองวาริชภูมิ, เมืองพรรณานิคม, เมืองกุสุมาลย์มณฑล,
เมืองอากาศอำนวย, เมืองวานรนิวาสในเขตเมืองสกลนคร, เมืองรามราช,
เมืองเรณูนคร ในเขตเมืองนครพนม, เมืองหนองสูง ในเขตเมืองมุกดาหาร
( จากเอกสาร ร. ๕ มท. เล่ม ๓ และเอกสาร ม. ๒ ๑๒ ก. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ทางด้านชาวภูไทยจากเมืองวังที่พากันอพยพข้ามโขงมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ. ศ. 2384
ต่อมา ได้มีชาวเมืองวังกลุ่มหนึ่ง มีท้าวเพชร, ท้าวสาย เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยท้าวไพ น้องท้าวเพชร บุตรพญาเตโช
( ต้นตระกูลเตโชของเมืองเรณู) เมืองวัง , ท้าวบุตรและท้าวอินทิสารทั้งสองคนชึ่งเป็นพี่เขยท้าวสาย
ได้นำชาวผู้ไทยจากเมืองวังกลุ่มหนึ่งไปตั้งบ้านอยู่ที่ บ้านบุ่งหวาย หรือดงหวาย แขวงเมืองนครพนม



( รวบรวมจากตำนานเมืองวังมนในประชุมพงศาวดาร ภาค ๗๐ และเอกสาร ร. ๕ มท.
เล่ม 38 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

 

 

รัชกาลที่ ๓ พ . ศ. ๒๓๘๕
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระมหาสงครามเจ้าอุปราชเวียงจันทร์ พระสุนทรราชวงศา มีใบบอกไปยังสมุห์นายก สำนักพระราชวัง
รายงานให้ทราบผลการเกลี้ยกล่อมครอบครัวเมืองต่างๆ เช่นเมืองวัง เมืองตะโปน เมืองพิณ เมืองนอง
กวาดต้อนเอาครัวข้ามาเพื่อตัดเสบียงของญวน ในการกวาดต้อนเกลี้ยกล่อมครั้งนี้
ได้ครัวเมืองที่เป็นข่ากะโซ่จากเมืองมหาไชย รวมทั้งสิ้น ๘๑๒ คน ชาวภูไทยเมืองกะปอง จำนวน ๓๗๓ คน
ชาวภูไทยครัวเมืองวังและครัวเมืองอื่นๆ อีกหลายแห่ง รวมทั้งสิ้น มีท้างเพี้ยฉกรรจ์
ครัวชายหญิงใหญ่น้อย ๒๕๕๖ คน ณ วันเดือน ๕ ปีขาล จัตวาศก พ .ศ. ๒๓๘๗

๖ ท้องตราพระราชสีห์ ถึง เมืองสกลนคร เรื่อง ตั้งเมืองกุสุมาลย์ , เมืองพรรณา
สารตราเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ มหาเสนาธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ มาเถิง อุปอาด, ราชวงษ์, ราชบุตร,
ท้าวเพี้ยผู้อยู่รักษาเมืองสกลนคร

ด้วยพระมหาสงคราม, เจ้าอุปราชเวียงจันทร์, พระยาจันตประเทศธานีเจ้าเมืองสกลนคร
ได้พาท้าวโฮงกลาง, ท้าวอุปราช, ท้าวนวลเมืองวัง, ท้าวเพี้ยเมืองสูง, เพี้ยบุตตราช, เพี้ยอินทรวงษ์ กะโซ่
ลงไปแจ้งราชการ ณ กรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานได้ตั้งน้ำพระพิพัฒน์ให้ท้างโฮงกลาง, เพี้ยเมืองสูง, ท้าวอุปราช,
ท้าวเพี้ย กระทำสัตยาธิษฐานรับพระราชทานถือน้ำพิพัฒน์สัตยานุสัตย์ตามอย่างธรรมเนียม พระมหาสงคราม,
อุปราชเวียงจันทร์ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เมื่อครั้งกรุงเทพมหานครยกขึ้นมาตีเมืองมหาชัย เพี้ยเมืองสูง,
เพี้ยบุตตโคตร, ท้าวบุตต์, ท้าวนาม พวกกะโซ่ ได้เข้าหากองทัพสมัครพาท้าวเพี้ยครอบครัวสวามิภักดิ์เข้ามาสู่
พระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระยามหาอำมาตย์นายทัพนายกองบุตรหลานท้าวเพี้ย
จัดแจงให้ ครอบครัวกะโซ่ตั้งอยู่บ้านกุดขมาน แขวงเมืองสกลนคร เป็นครัวท้าวเพี้ย ๖๗, ฉกรรจ์ ๖๑๒, ครัว ๒, ๐๐๐
กับว่าพระมหาสงคราม, เจ้าอุปราชกับเจ้าเมืองนายทัพนายกองยกไปตีเมืองวัง ณ ปี ฉลูตรีศก
( จ. ศ. ๑๒๐๓, พ. ศ. ๒๓๘๔)

เจ้าอุปฮาด, ราชบุตร, ราชวงษ์, ท้าวเพี้ยเมืองวังไปเกลี้ยกล่อมได้ครอบครัวท้าวโฮงกลาง, ท้าวอุปราช, ท้าวนวล, ท้าววงศ์คีรีเมืองวังสามิภักดิ์พาพวกพ้องพี่น้องท้าวเพี้ยตามมา ได้ปรึกษาพร้อมกันจัดแจงท้าวโรงกลาง, ท้าวอุปราช,
ท้าวนวลท้าวเพี้ยครอบครัวตั้งอยู่ บ้านปะขาวพันนา แขวงเมืองสกลนคร เป็นพระสงฆ์ ๓, สามเณร ๑๖, ท้าว ๙ คน,
เพี้ย ๓๔ คน, รวม ๔๓ คน ฉกรรจ์ ๒๕๕ รวมกัน ๒๙๗ ครัว ๑, ๒๗๗ คน รวมกัน ๒, ๐๐๓ คน จึงนำเนื้อความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา
พาเพี้ยเมืองสูง, เพี้ยบุตต์โคตร, เพี้ยบุตตราช, เพี้ยอินทรวงษ์กะโซ่ ท้าวโฮงกลาง, ท้าวอุปราช, ท้าวนวลเมืองวัง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
จึงทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า
เมืองวัง, กะโซ่หัวเมืองลาวฟากของตวันออกเหล่านี้ก็เป็นข้าขอบขัณฑเสมากรุงเทพมหานครมาแต่เดิม
พากันไปพึ่งอ้ายญวนเมื่อครั้งอนุเวียงจันทร์เป็นกบฎ แข็งบ้านเมืองละอย่างธรรมเนียมเสีย โปรดเกล้าฯ
ให้กองทัพยกข้ามไปทำลายบ้านเมืองให้ยับเยินเข็ดหลาบ หัวเมืองฟากของตะวันออกที่รู้สึกตัวหมายจะเอาอ้ายญวนเป็นที่พึ่ง มิได้พาครอบครัวสามิภักดิ์ข้ามมาอยู่หัวเมืองฟากของข้างนี้ ก็ได้มีตราโปรดเกล้าฯ ขึ้นไปถึงเจ้าอุปราชท้าวเพี้ยแต่ก่อนว่านายไพร่ครอบครัวหัวเมืองลาวฟากของตวันออกสามิภักดิ์
พาครอบครัว มาโดยดี ถ้าอยู่กับหัวเมืองใดก็จะโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ทำราชการกับเมืองนั้นตามใจสมัคร์
ถ้ามีครอบครัวบ่าวไพร่สมควรตั้งเป็นเมืองให้โปรดเกล้าฯ เป็นบ้านเป็นเมืองขึ้นกับเมืองใหญ่ จะได้เป็นกรมการบ้านเมืองทำมาหากินอยู่เย็นเป็นสุขโดยทรงพระกรุณาเมตตา
กับนายไพร่ครอบครัวหัวเมืองลาว เหล่านั้นไม่ให้มีความเดือดร้อนต่อไป ซึ่งเพี้ยเมืองสูง, เพี้ยบุตตโคตร, เพียบุตตราช,
ท้าวนามกะโซ่ ท้าวโฮงกลาง, ท้าวอุปราช, ท้าวนวล, ท้าววงศ์คีรีเมืองวัง, ท้าวเพี้ยพาครอบครัวข้ามมาเป็นคนเมือง ๒, ๐๐๓ คน,
กะโซ่ ๓, ๒๐๙ คน รวมกัน ๕, ๒๑๒ คน ไพร่พลครอบครัวก็พอจะตั้งเป็นเมืองได้อยู่แล้ว
โปรดเกล้าฯ ให้ถามท้าวโฮงกลาง, เพี้ยเมืองสูง, ท้าวอุปราชหลานเพี้ยเมืองวัง, กะโซ่ว่าได้ปรึกษาหารือกัน กับท้าวเพี้ยครอบครัวพร้อมมูลกันจะตั้งบ้านเมืองอยู่ตำบลบ้านใดสมัครทำราชการกับเมืองใด ท้าวโฮงกลาง, เพี้ยเมืองสูง, ท้าวอุปราช บุตรหลานซึ่งไปกรุงเทพมหานคร แจ้งความให้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่าครอบครัว
ตั้งอยู่ บ้านพันนา กะโซ่ไปตั้งอยู่บ้านกุดขมาน มาหลายครอบครัวไปตั้งเสาเรือนเป็นถิ่นฐานลงมาแล้ว
ที่ไร่นาก็พอทำมาหากินได้ไม่ขัดสน พระยาประเทศธานีบุตรหลานท้าวเพี้ยเมืองสกลนครได้ทำนุนายไพรมาแต่เดิมเห็นใจรักใคร่กันสนิทสนม พวกนายไพร่ครอบครัวท้าวโฮงกลางเมืองวังขอตั้งอยู่ บ้านปะขาวพันนา กะโซ่ขอตั้งอยู่ บ้านกุดขมาน จะขอพระราชทานทำราชการฉลองพระเดชพระคุณขึ้นกับเมืองสกลนคร
โปรดเกล้าฯ จะให้ตั้งบ้านเมืองอยู่ตามใจสมัคร์ตามทางพระราชวินิจฉัยแต่เดิม โปรดเกล้าให้ตั้งบ้านปะขาวพันนา,
ให้บ้านกุดขมานเป็นเมืองพระราชทานชื่อ เมืองพรรณา ชื่อ เมืองกุสุมาลย์ ให้ท้าวโฮงกลาง เป็นเจ้าเมืองพรรณา,
ให้เพี้ยเมืองสูงเป็นเจ้าเมืองกุสุมาลย์ ท้าวโฮงกลาง, เพี้ยเมืองสูงขอพระราชทานท้าวอุปราชเป็นอุปฮาด, ท้าวนวลเป็นราชวงษ์,
ท้าววงศ์คีรีเป็นราชบุตรเมืองพรรณา ท้าวบุตตโคตรเป็นอัครฮาด, เพี้ยบุตตราชเป็นอัครวงษ์,
ท้าวนามเป็นวรบุตรเมืองกุสุมาลย์

จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งอุปฮาด , ราชวงษ์, ราชบุตร, อัครฮาด, อัครบุตร, วรบุตรตามท้าวโฮง
กลาง, เพี้ยเมืองสูงให้กราบบังคมทูลพระกรุณา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทาน

ท้าวโฮงกลาง ถาดหมากคนโถเงินสำรับหนึ่ง, สัปทนแพรหนึ่ง, เสื้อเข้มขาบก้านแย่งหนึ่ง,
ผ้าโพกแพรขลิบหนึ่ง, ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง, ผ้าแพรขาวห่มผืนหนึ่ง, ผ้าปูมผืนหนึ่ง

ท้าวอุปราช เงินตรา ๑๕ ตำลึง, เสื้อเข้มขาบดอกถี่ตัวหนึ่ง, ผ้าโพกแพรขลิบหนึ่ง,
ผ้าดำปักไหมมีซับผืนหนึ่ง, ผ้าขาวห่มผืนหนึ่ง, ผ้าปูมหนึ่ง

ท้าวนวล เงินตรา ๑๐ ตำลึง, เสื้อเข้มขาบดอกเสทินตัวหนึ่ง, ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง, ผ้าขาวห่มผืนหนึ่ง
ท้าววงศ์คีรี เงินตรา ๗ ตำลึง, เสื้ออัตลัดดอกลายหนึ่ง, ผ้าขาวห่มผืนหนึ่ง, ผ้าเชิงปูมผืนหนึ่ง

เพี้ยเมืองสูง เงินตรา ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง, ภาชนะคนโทเงินสำรับหนึ่ง, สัปทนแพรหนึ่ง,
เสื้อเข้มขาบก้านแย่งหนึ่ง, ผ้าโพกขลิบหนึ่ง, ผ้าดำปักทองหนึ่ง, แพรขาวห่มผืนหนึ่ง, ผ้าปูมผืนหนึ่ง

เพี้ยบุตตโคตร เงินตรา ๑ ชั่ง ๕ ตำลึง, เสื้อเข้มขาบดอกถี่ตัวหนึ่ง, ผ้าโพกขลิบหนึ่ง,
ผ้าดำปักไหมผืนหนึ่ง, ผ้าขาวห่มผืนหนึ่ง, ผ้าปูมผืนหนึ่ง

เพี้ยบุตตราช เงินตรา ๑ ชั่ง, , เสื้อเข้มขาบดอกเสทินตัวหนึ่ง, ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง, ผ้าขาวห่มผืนหนึ่ง
ท้าวนาม เงินตรา ๑๕ ตำลึง, เสื้ออัตลัดดอกลายตัวหนึ่ง, ผ้าขาวห่มผืนหนึ่ง, ผ้าเชิงปูมผืนหนึง

แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวโฮงกลางเป็น พระเสนาณรงค์, ท้าวอุปราช เป็น อุปฮาด,
ท้าวนวล เป็นราชวงษ์ , ท้าววงศ์คีรี เป็นราชบุตร เมืองพรรณา ตั้ง เพี้ยเมืองสูงเป็นที่
พระอรัญอาสา เจ้าเมือง, เพี้ยบุตตโคตรเป็น อัครอาด, เพี้ยบุตตราช เป็นอัครวงษ์, ท้าวนาม เป็นวรบุตร เมืองกุสุมาลย์ ขึ้นมารักษาราชการบ้านเมืองครอบครัวบ่าวไพร่ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณขึ้นกับเมืองสกลนครตามอย่าง
หัวเมืองน้อยขึ้นกับหัวเมืองใหญ่ ฯลฯ
หนังสือมา ณ วันศุกร์ เดือน ๙ ค่ำ จ . ศ. ๑๒๐๖ ปีมะโรง

( วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ. ศ. ๒๓๘๗)

จากจดหมายเหตุ ร . ๓ จ. ศ. ๑๒๐๖ เลขที่ ๓๔ หอสมุดแห่งชาติ

 

และในปีนี้เช่นเดียวกัน รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านบุ่งหวายซึ่งนายไพร่
รวม ๒ , ๖๘๔ คน ตั้งขึ้นเป็นเมือง “ เรณูนคร” ขึ้นกับเมืองนครพนม ให้ท้าวสายเป็น “ พระแก้วโกมล”
เจ้าเมืองเรณูนคร ตั้งแต่ปีมะโรง ฉศก จ. ศ. ๑๒๐๖ พ. ศ. ๒๓๘๗ ส่วนท้าวเพชรได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน


( จากเอกสาร ร. ๓ จ. ศ. ๑๒๐๖ เลขที่ ๕๘ หอสมุดแห่งชาติ )

 

พ . ศ. ๒๓๙๓

พระอรัญอาสา( เพี้ยเมืองสูง) ๖ ได้เป็นเจ้าเมืองกุสุมาลย์ รับราชการปกครองลูกบ้านไพร่เมือง
ให้อยู่เย็นเป็นสุขมาจนถึง พ . ศ. ๒๓๙๓ ปีนี้เกิดฝนแล้ง และเป็นการแล้งอย่างหนัก เล่ากันว่า
“ จนต้นไผ่เป็นหมกขี้” มีเหตุจำต้องย้ายไปสร้างเมืองใหม่อีก คือ

๑. เกิดอหิวาตกโรคประชาชนพลเมืองล้มตายเป็นจำนวนมาก
๒. เกิดความแห้งแล้ง ขาดน้ำดื่ม น้ำใช้
๓. ประชาชนพลเมืองมากขึ้น บริเวณที่ตั้งเมืองคับแคบจะขยายอีกไม่ได้
๔. การติดต่อราชการของราษฎรยากลำบาก อันเนื่องมาจากบริเวณรอบๆ เมืองเกิดน้ำท่วมขังในฤดูฝน
นายพา ไพราชสูง หลานพระอรัญอาสา กล่าวว่า สาเหตุที่เมืองเก่าร้าง มีหลายประการ คือ
๑. ความแตกแยกและความเจ็บไข้ได้ป่วย และมีผู้คนล้มตายโดยไม่ทราบสาเหตุมากมาย
๒. ความอดอยากยากแค้น และความแห้งแล้งขณะนั้น แต่ สาเหตุหลักเชื่อกันว่า มาจากความขัดแย้ง
แตกแยกใส่ร้ายป้ายสีกัน จนเป็นเหตุให้เกิดเรื่องราวขึ้น คนเฒ่าคนแก่เล่าตรงกันว่า บ้านเมืองสับสน
วุ่นวายมาก มีคนตายทุกวันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ หลายคนเชื่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการเล่นของ
เล่น คาถาอาคมและละเมิดกฎข้อห้าม ผู้ละเมิดกฎข้อห้ามจะกลายเป็นผีปอป ผีโพง กินลูกหลานบ้านเมือง

เมื่อเกิดความวุ่นวายไร้สงบสุข ผู้คนจึงอพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในที่อื่น กลุ่มที่อยู่ที่เดิมหรือย้ายทีหลัง
เป็นกลุ่มที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นปอป ส่วนกลุ่มที่ออกไปก่อน เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า ถ้าอยู่รวมกับ ปอป
ก็จะมีแต่ เภทภัย จึงแยกย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่แห่งใหม่

จากคำบอกเล่าของนายพา ไพราชสูง และเหตุผลการย้ายเมืองกุสุมาย์ ( ๑ .) เช่นเดียวกัน นาย….
อายุ ปี เล่าว่า แม่ต้องออกมาที่บ้านฮ้าง( นามน) เพราะชาวบ้านไม่ยอมให้อยู่ร่วมบ้านด้วย
โดยกล่าวหาว่าเป็นปอป) และคำบอกเล่าของคนเฒ่าคน ทำให้บ้านนาโพธิ์นามนก็ตกอยู่ในชะตากรรม
เดียวกัน ทั้งที่เป็นหมู่บ้านที่มีประชากรอยู่เกือบ ๓๐ ครัว ก็ต้องอพยพย้ายมาตั้งอยู่ที่บ้านนาโพธิ์ในปัจจุบัน และสาเหตุที่ตั้งชื่อบ้านนาโพธิ์นามนก็เพราะว่า สถานที่ตั้งหมู่บ้านมีต้นโพธิ์ใหญ่และมีทุ่งนากว้างใหญ่ คั่นด้วยลำห้วยลักษณะพื้นที่โค้งมน ( ปัจจุบันต้นโพธิ์ดังกล่าวมีขนาดใหญ่ ประมาณอายุราว ๒๐๐ ปี และบริเวณทุ่งดังกล่าวปัจจุบันยังคงเรียกว่า ท่งนามนหรือ ทุ่งนามน ) ซึ่งนอกจากหลักฐานทางธรรมชาติ
เช่น ต้นโพธิ์ ต้นมะขามใหญ่แล้ว ยังมีการขุดพบไหขนาดใหญ่ซึ่งภายในบรรจุกระดูกอยู่ในสภาพดีไว้เต็มไห
จำนวนหลายใบ นอกจากนี้ คนเฒ่าคนแก่( คุณยายโอ กามดำ อายุ ๙๐ ปี ๙๐ ม. ๗ บ้านนาโพธิ์น้อย,
คุณลุงหัสดี อายุ ๗๙ ปี นาโพธิ์
: เมื่อ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๖) และหลายท่าน เล่าเป็นเสียงเดียวกันว่า เมื่อเป็นเด็กพ่อแม่จะพาไปบ้านฮ้างนี้
บ่อยมาก และเมื่อเป็นหนุ่มสาวจะพากันไปกินหมากขี้โพ้น หมาก( มะ) ม่วง และพากันไปตักน้ำ ไปท่าคุยผู้สาวอยู่บ้านฮ้างนี้บ่อยๆ ประกอบกับเส้นทางที่ไปบ้านฮ้างหรือทุ่งนามนขณะนั้นมีเส้นทางเดียว
คือเส้นทางระหว่าง บ้าน นาโพธิ์ปัจจุบัน ไปบ้านนามนเท่านั้น

เมื่อย้ายจากบ้านนาโพธิ์นามนที่เดิม มาอยู่ที่บ้านนาโพธิ์ปัจจุบันมีลักษณะเป็นบ๊ะ (บริเวณที่ราบกว้าง
พื้นที่ลุ่มมีน้ำขัง) มีต้นโพธิ์อยู่จึงใช้ชื่อตั้งบ้านว่านาโพธิ์และตัดคำว่านามนทิ้งเพราะที่ตั้งบ้าน
ไม่มีทุ่งนามนแล้วนั่นเอง

ผู้คนที่อพยพมาตั้งบ้านนาโพธิ์ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนภูไทย และกุลา ประมาณ 20 ครัวเรือน
และกลุ่มอื่นจะย้ายไปตั้งบ้านเรือนที่อื่น เช่น ยาย…….. อายุปี เล่าว่า พ่อกับแม่พามาอยู่ที่บ้านกุสุมาลย์
( เดิม) แต่อยู่ไม่ได้ เลยมาตั้งครัวเรือนอยู่บ้านหนองสิม อีกส่วนหนึ่งย้ายไปครอบครัวอยู่บ้านกกส้มโฮง
และบ้านต่างๆ

พระอรัญอาสา ( เพี้ยเมืองสูง) มีบุตร ๒ คน คนหัวปีเป็นผู้ชายชื่อ ท้าวกิ่ง คนที่ ๒ เป็นผู้หญิงชื่อว่านาง.......
พระอรัญอาสา( เพี้ยเมืองสูง) พาอุปฮาด ราชวงษ์ ราชบุตรกรรมการเมืองและสมัครพรรคพวก
ย้ายจากเมืองเดิมไปตั้งเมืองใหม่เมืองกุสุมาลย์มณฑลใหม่ ทางทิศตะวันออก ห่างราว ๓ กิโลเมตร
โดยข้ามลำห้วยขมานลำห้วยโพธิ์ และลำห้วยกะเพอ ไปตั้งในดงไม้ซึ่งมีไม้ พยูง ไม้ตะเคียน
ไม้กระบาก ไม้เต็ง ไม้รังและไม้อื่นๆ ( ตอนนั้นเขียนตามคำบอกเล่าของราชวงษ์กระต่าย) ส่วนที่เดิม
ก็พากันเรียกว่า เมืองเก่า ( ปัจจุบันคือบ้านเมืองเก่า) จนเมืองกุสุมาลย์มณฑลมีความเจริญ ต่อมาได้พากันสร้างวัดหลายแห่ง เช่น วัดกลาง วัดโพธาราม วัดป่า( ร้างแล้ว) วัดเหนือ
( ร้างแล้ว บริเวณที่ตั้งจุดสาธิตศูนย์ปฎิบัติการเรียนรู้ีวิทยุชุมชนคนไทโส้ FM.99.75 MHz.. ในปัจจุบัน)

พระอรัญอาสา( เพี้ยเมืองสูง) ครองเมืองกุสุมาลย์มณฑล ตั้งแต่ พ. ศ. ๒๓๘๗
จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๙ ก็ถึงแก่กรรม รวมระยะเวลาเป็นเจ้าเมือง ๓๒ ปี

 

รัชกาลที่ ๕ พ . ศ. ๒๔๐๕
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองโพธิไพศาล
และตั้งให้นายสุริยะเป็นพระไพศาลเสนาบุรักษ์เป็นเจ้าเมืองโพธิไพศาล พ. ศ. ๒๔๑๕

ไทยข่า กระโซ่เมืองกุสุมาลย์ เกิดวิวาทขัดแย้งชิงตำแหน่งหน้าที่ราชการ โดยท้าย
ขัตติย ไทยข่ากระโซ่ เป็นหัวหน้าร้องขอเป็นเมืองขึ้นเมืองสกลนคร ขอแยกออกจากเมืองกุสุมาลย์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งท้าวขัตติยเป็นพระไพศาลสิมานุรักษ์เจ้าเมือง

การปราบพวกฮ่อ พ . ศ. ๒๔๑๗

๑ พวกฮ่อนั้นคือจีนแท้นั้นเอง แต่ชาวไทยทางเหนือเรียกว่า “ ฮ่อ” จีนพวกนี้ได้ตั้งเป็นคณะขึ้น เรียกว่า
“ คณะไตเผ็ง” ก่อการกบฎและทำลายราชวงศ์แมนจู แต่กองทัพหลวงของจีนได้ทำการปราบปราม พวกไต้เผ็งสู้ไม่ได้ก็หนีลงมาทางทิศ ใต้มาตั้งอยู่ที่ทุ่งเชียงคานในแถบเมืองพวนเมื่อพ. ศ. ๒๔๑๗

 

ปรีชา พงศ์ภมร , ๔๕ กษัตริย์ไทย ; หน้า ๔๕๒ พ. ศ. ๒๔๑๘
( นครพนม น.15)

 

เนื่องจากมีพวกจีนฮ่อได้ยกมาตีเมืองเวียงจันทร์ และเมืองหนองคาย จึงให้พระยามหาอำมาตย์ ข้าหลวงใหญ่ซึ่งมาจัดราชการอยู่ ณ เมืองอุบลราชธานี เป็นแม่ทัพเกณฑ์กองทัพเมืองต่างๆ คือ เมืองร้อยเอ็ด ๕, ๐๐๐ คน, เมืองสุวรรณภูมิ ๕, ๐๐๐ คน, เมืองกาฬสินธุ์ ๔, ๐๐๐คน , เมืองอุบลราชธานี ๑๐, ๐๐๐ คน, เมืองยโสธร ๕, ๐๐๐ คน เมืองมุกดาหาร ๔, ๐๐๐ คน, เมืองนครพนม ๔, ๐๐๐ คน, ฯลฯ ไว้สมทบกองทัพใหญ่ ซึ่งสมเด็จกรมพระยาบำราบปรปักษ์ สมุหนายกจะยกขึ้นมาจากกรุงเทพฯ และให้เมืองนครพนมเตรียมปลูกฉางข้าว
และเตรียมซื้อข้าวขึ้นฉางไวสำหรับเลี้ยงกองทัพ อนึ่งยังให้เมืองต่างๆ เตรียมไม้ถากไว้เพื่อขุดเรือไว้ให้กว้างลำละ
๔ วา ๕ ศอก คืบ คือเมืองนครพนม ๕๐ ลำ, เมืองหนองคาย ๕๐ ลำ, เมืองโพนพิสัย ๓๐ ลำ,
เมืองไชยบุรี ๒๐ ลำ, เมืองท่าอุเทน ๑๕ ลำ, เมืองมุกดาหาร ๕๐ ลำ, รวม ๒๔๕ ลำ

 

( จากเอกสาร ร. ๕ มท. เล่ม ๑๐ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
พ. ศ. ๒๔๑๙ ( ประวัติโส้ ศิริมงคล)

 

พระอรัญอาสา( เพี้ยเมืองสูง) ก็ถึงแก่กรรม ท้าวกิ่งผู้เป็นบุตรชายซึ่งได้ไปเรียนวิชาการปกครองที่กรุงเทพฯ
ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกุสุมาลย์มณฑล คนต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็น พระอรัญอาษา( ท้าวกิ่ง)
ปกครองเมืองกุสุมาลย์มณฑลสืบต่อพระอรัญอาสา( เพี้ยเมืองสูง) ผู้เป็นบิดา พ. ศ. ๒๔๒๗ ( สกล น.23)

เกิดจราจลขึ้นที่เมืองเชียงขวาง ทุ่งเชียงคำ เกิดจากจีนฮ่อ เข้าปล้นราษฎรเข้ามาในเขตเชียงขวาง
เมืองสกลนครถูกเกณฑ์กำลัง ๑, ๐๐๐ คน ช้าง ๒๕ เชือก ข้าวสาร ๓, ๐๐๐ ถัง โคต่าง ๑๐๐ ตัว ส่งทางบก ทางเรือบ้าง
ในการทัพครั้งนี้ โปรดให้พระอุปฮาด ( โง่นคำ) ราชวงษ์( ฟอง) เป็นนายทัพ

พระอรัญอาษา( ท้าวกิ่ง) ได้พาทหารชาวไทโส้ไปร่วมรบที่ทุ่งเชียงคำ( เชียงคาน)
ร่วมกับกองทัพทางกรุงเทพฯ ซึ่งพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นแม่ทัพ
( ได้รับเหรียญออกรบครั้งนี้กลับมาด้วย ดูอ้างอิงและเหรียญประกอบ )

ได้รับใบบอกเมืองสกลนครว่าพระยาจันตประเทศธานี( ปิด) เจ้าเมืองป่วยถึงแก่กรรม
( อยู่ในระหว่างศึกกับจีนฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ) แม่ทัพจึงโปรดให้พระอุปฮาด ( โง่นคำ) กลับไปรักษาราชการเมือง
ให้ราชวงษ์( ฟอง) คุมกองทัพไปทุ่งเชียงคำ สู้รบกับจีนฮ่อถึงปราชัย โดยเหตุที่แม่ทัพถูกอาวุธปืนข้าศึก บาดเจ็บมาก
แม่ทัพเลิกทัพกลับ มาตั้งพักอยู่ที่เมืองหนองคาย

การปราบฮ่อครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓ ( ครั้งที่ ๑ พ. ศ. ๒๔๑๘, ครั้งที่ ๒ พ. ศ. ๒๔๒๑ ,
ครังที่ ๓ พ . ศ. ๒๓๒๘, ครั้งที่ ๔ พ. ศ. ๒๔๓๐)
โปรดให้กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เมื่อยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่น ยกไปทางหนองคายทัพหนึ่ง
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ( เจิม แสงชูโต) เมื่อยังเป็นจมื่นไวยวรนาถยกไปหลวงพระบางอีกทัพหนึ่ง เพื่อปราบฮ่อใหม่ในคราวนี้ พวกฮ่อกลัวปืนใหญ่หนีไปเสียก่อน
จึงทำลายค่ายเสีย แล้วยกทัพกลับมา ในการปราบฮ่อครั้งที่ ๓ พ. ศ. ๒๓๒๘ กั้นบัง รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่ง ฝรั่งเศษได้ขอทำสัญญากับไทย
เพื่อตั้งสถานที่กงศุลที่นครหลวงพระบางและฝรั่งเศษได้ตั้ง ม. ปาวีร์ เป็นกงศุล ต่อมาอีกปีหนึ่ง พ. ศ. ๒๔๓๐
พวกฮ่อได้เข้าปล้นอีกครั้งหนึ่ง และไทยได้ปราบฮ่อจนราบคาบดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ในการที่พวกฮ่อปล้นครั้งนี้
ม. ปาวีร์ กงศุลฝรั่งเศษตกอยู่ในอันตรายรอดชีวิตได้เพราะไทยช่วยไว้้และอพยพจากหลวงพระบาง
โดยการอุปถัมภ์ของไทย การที่ไทยปราบพวกฮ่อสองครั้งนั้น ฝรั่งเศษมิได้ไหวตัวช่วยเหลือในงานนี้ด้วย
แม้แต่เล็กน้อย แต่ครั้งเมื่อไทยได้เสียเลือดเนื้อจนปราบฮ่อได้ราบคาบ
แล้ว ฝรั่งเศษจึงได้เข้ามายึดเอาแคว้นสิบสองจุไทย และหัวพันทั้งห้าทั้งหกไว้โดยอ้างว่าเพื่อคอยปราบจีนฮ่อ
และไทยจะเจรจาอย่างไร ฝรั่งเศษก็ไม่ยอมถอยกองทัพไป
แคว้นสิบสองจุไทยของเราจึงกลายเป็นของฝรั่งเศษไป ตั้งแต่ พ. ศ. ๒๔๓๑
การเสียดินแดนครั้งนี้ คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ๘๗, ๐๐๐

 

พ . ศ. ๒๔๓๗

ชาวภูไทอีกกลุ่มหนึ่ง จากเมืองเว เรณู ประมาณ 7-8 ครัวเรือน เดินทางมาตั้งบ้านเรือนเพิ่ม
(ปู่คือ นายเลา เนืองทอง อายุ 84 ปี เล่าให้ผู้เขียนฟัง เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๒๘ ขณะนั้นมีอายุ 80 ปี
พ่อคือ นายหนั่น เนืองทอง เป็นชาวพม่า มาจากเมือง มอระแม
กุลาก็คือพวกพม่าที่ชอบค้าขายและเดินทางอยู่เสมอๆได้มาอยู่ก่อนหน้านี้ไม่กี่ปี) โดยมีนางคำตา
( ไม่ทราบนามสกุลเดิม) รวมอยู่ในครั้งนั้นด้วย ซึ่งต่อมาได้แต่งงานกับนายหนั่น เนืองทอง และมีบุตร
อันได้แก่ นายเลา เนืองทอง และญาติพี่น้องอีกหลายคน

พ . ศ. ๒๔๓๙ ( สกล น.24)

โปรดเกล้าให้เมืองวาริชภูมิ เมืองขึ้นเมืองหนองหาร มาขึ้นกับเมืองสกลนคร
เปลี่ยนแปลงให้เมืองกุสุมาลย์และเมืองโพธิไพศาลไปขึ้นกับเมืองนครพนม

พ . ศ. ๒๔๔๖ ( สกล น.26)

เมืองสกลนครเกิดฝนแล้ง ทั้งโค ทั้งกระบือ เกิดโรคระบาด การทำนาไม่ได้ผล
ราษฎรอาศัยบริเวณหนองหารทำนาแซง ประทังความอดอยากไปได้ปีหนึ่ง

พ . ศ. ๒๔๔๙ ( สกล น.26)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จมาตรวจราชการ
ถึงบริเวณสกลนครประทับอยู่ ๒ วัน แล้วเสด็จไปนมัสการพระธาตุพนมบรมเจดีย์

พ . ศ. ๒๔๕๐
( เที่ยวที่ต่างๆ ๔ ภาคที่ ๔ น.38 )

วันที่ ๑๓ มกราคม เวลาย่ำรุ่ง ออกจากกุรุคุทางขึ้นเนินป่าไม้เต็งไปตามทางสาย

โทรศัพท์ ถึงห้วยหินสะแนนเวลา ๒ โมงเช้า ๑๕ นาที ระยะทาง ๔๑๐ เส้น มีราษฎรมาคอยรับ
ผู้ใหญ่บ้านผู้หนึ่งดักได้นกอินทรีคู่หนึ่งมาให้ ในหมู่ราษฎรมีคนไทยโย้ยคนหนึ่งแต่งตัวอย่างคนพื้นเมือง
ว่ามาจากเมืองอากาศอำนวย กับมีพวกกะโซ้ซึ่งจะได้พบต่อไปมาด้วย เวลาเช้า ๓ โมง ๔๐ นาท
ี ออกจากห้วยหินสะแนนขึ้นโคกไม้เต็งรังต่อไป เข้าเขตเมืองโพธิไพศาลซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ อย่างตำบลกำนันแห่ง
หนึ่ง แต่ทางที่มานี้ไม่ได้ผ่านบ้านผู้คน แล้วข้ามห้วยทวยเขตเมืองโพธิไพศาลกับเมืองกุสุมาลย์มณฑลต่อกัน

เวลาเช้า ๔ โมง ๔๐ นาทีถึงที่พักแรม ณ เมืองกุสุมาลย์มณฑล ระยะทาง ๒๖๐ เส้น รวมระยะทางวันนี้ ๖๗๐ เส้น
พระอรัญอาสา ผู้ว่าราชการเมืองกุสุมาลย์ กับกรมการกำนัน ผู้ใหญ่

บ้านและราษฎรชายหญิงพากันมารับเป็นอันมาก ชาวเมืองนี้เป็นข่าที่เรียกว่ากะโซ้ เดิมมาจากเมืองมหาชัย
กองแก้ว ผู้หญิงไว้ผมสูงแต่งตัวนุ่งซิ่นสวมเสื้อกระบอก ย้อมคราม ห่มผ้าแถบ ผู้ชายแต่งตัวอย่างคนชาวเมือง
แต่เดิมว่านุ่งผ้าขัดเตี่ยวไว้ชายข้างหน้าชายหนึ่ง ข้างหลังชายหนึ่ง มีภาษาพูดที่คล้ายสำเนียงมอญ แล้วพวกผู้ชายมการเล่น
เรียกว่าสะลาคือมีหม้ออุตั้งกลาง แล้วคนต้นบทคนหนึ่ง คนสะพายหน้าไม้และลูกสำหรับยิงคนหนึ่ง
คนตีฆ้องซึ่งเรียกว่าพะเนาะคนหนึ่ง คนถือไม้ไผ่ท่อนสามปล้องสำหรับกระทุ้งดินเป็นจังหวะสองคน
คนถือชามสองมือสำหรับติดเทียนรำคนหนึ่ง คนถือก้นตะแกรงขาดสองมือสำหรับรำคนหนึ่ง
แล้วคนถือมีดถือสิ่วหักสำหรับเคาะจังหวะคนหนึ่ง รวม ๘ คน เดินร้องรำเป็นวงเวียนไปมาพอได้พักหนึ่งก็ดื่มอุแล้วร้องรำต่อไป
ดูสนุกกันเองไม่ใคร่อยากเลิก เวลาเลิกแล้วก็ยังฟ้อนกันเรื่อยตลอดทางไป พวกข่ากะโซ้นี้กินอาหารไม่ใคร่เลือก
มีเรื่องเล่ากันว่าเมื่อกรมหลวงประจักษ์ฯ เป็นข้าหลวง พระอรัญอาสา ผู้ว่าราชการเมืองกุสุมาลย์คนนี้ไปเฝ้าฯ
รับสั่งไต่ถามถึงขนบธรรมเนียมของพวกข่ากะโซ้ ไล่เลียงกันไปจนถึงอาหารที่ชอบบริโภค
พระอรัญอาสาทูลว่า “ ชอบเจียะจอ” ( คือชอบบริโภคเนื้อสุนัข)
ไม่ทรงเชื่อ พระอรัญอาสารับจะบริโภคถวายทอดพระเนตร จึงให้ไปหาเนื้อ “ จอ” มาเลี้ยง
นัยว่า เมื่อพระอรัญอาสาบริโภคเนื้อจอนั้น พวกข้างในตำหนักดูอยู่ไม่ได้ ถึงต้องวิ่งหนี เล่ากันดังนี้

เวลาบ่าย ๔ โมงไปที่วัดกลาง มีพระ ๔ รูป เณร ๓ รูป วัดในมณฑลนี้มักมีพระอยู่กรรม เรียกว่า “ พลวง”
เป็นประทุนเล็กๆ พื้นฟากเฉพาะนอนคนเดียวเหมือนอย่าประทุนเกวียน มีวัดละหลายๆหลัง มักทำรายไป
รอบโบสถ์ เวลาเข้าพรรษาพระภิกษุไปกอยู่กรรม เจขามักว่ามีคนศรัทธาไปปฏิบัติถือกันว่าได้บุญมาก
แล้วไปดูหมู่บ้านราษฎรจนถึงทุ่งนาริมห้วยเสอเพลอ เมืองกุสุมาลย์มณฑลนี้เดิมเรียกว่าบ้านกุดมาร
ยกขึ้นเป็นเมืองขึ้นของเมืองสกลนคร เห็นจะเป็นเมื่อในรัชกาลที่ ๔ ราษฎรชาวเมืองมีจำนวน ๒๑๗๑ คน
เลี้ยงโคกระบือและสุกรเป็ดไก่ถึงได้ขายแก่คนเดินทางบ้าง กับทำนาและข้าวไร่พอเลี้ยงกันเอง

เมืองสกลนคร

วันที่ ๑๔ มกราคม เวลาย่ำรุ่ง ออกจากที่พักเมืองกุสุมาลย์มณฑล ถึงห้วยหลัวเป็นเขตเมืองกุสุมาลย์
กับเมืองสกลนครต่อกัน หลวง พิไสยสิทธิกรรม ข้าหลวงบริเวณสกลนครมาคอยรับ มีราษฎรชายหญิงมารับด้วย
เดินทางต่อไปถึงทางแยกที่ตัดใหม่ไปท่าแร่ แยกจากทางสายโทรศัพท์มาถึงตำบลบ้านท่าแร่ มีราษฎรมาคอยรับอีกเป็นอันมาก
แลที่นี้มีวัดโรมันคาธอลิก เรียกชื่อว่า “ เซนต์ไมเคิล” โบสถ์ก่อผนังด้วยศิลาแลง เพราะตำบลท่าแร่นี้มีศิลาแลงมาก
บาทหลวงโยเซฟกอบบุรีเออ ซึ่งมาสอนศาสนาอยู่ ๒๒ ปีเศษแล้ว กับบาทหลวงผู้ช่วยอีก ๒ คนได้มาคอยรับ แล้วเชิญขึ้นไปบนที่อยู่เห็นบาทหลวงรูปหนึ่งป่วยเป็นไข้จนผิวเหลือง จึงให้หมอ แบรดด๊อกไปตรวจและให้ยาด้วย
ที่วัดบาทหลวงท่าแร่ มีญวณเข้ารีต ๑๖๖ คน คนพื้นเมือง ๑๕๐๔ คน ระยะทางตั้งแต่เมืองกุสุมาลย์มาบ้านท่าแร่
๕๐๖ เส้น ถึงเวลาเช้า ๓ โมงเศษ พักกินข้าวเข้าแล้ว เวลาเช้า ๔ โมง ลงเรือข้ามหนองหารไปขึ้นฝั่ง เมืองสกลนคร
หนองหารเมืองสกลนครนี้กว้างใหญ่ไพศาลมาก มีเขาภูพานอยู่ข้างตะวันตกเป็นเขาเทือกยาว
ในหนองมีเกาะเรียกว่า ดอนตาคราม และดอนสวรรค์ เห็นฝูงม้าฝูงใหญ่ๆ และฝูงโคกระบืออยู่ริมฝั่งเป็นแห่งๆไป
เวลาเช้า ๕ โมง ๔ นาที ถึงฝั่งเมืองสกลนคร ระยะทางข้ามฝากหนองประมาณ ๒๐๐ เส้น พระยาประจันตประเทศธานี
ผู้ว่าราชกาลเมือง กรมการกำนันผู้ใหญ่บ้าน ราษฎรมาคอยรับที่ทางขึ้น มีพระสวดชยันโตและยิงสลุต
และมีราษฎรชายข้างหนึ่ง หญิงข้างหนึ่งมาคอยรับเป็นแถว ตลอดไปประมาณ ๓ , ๐๐๐ เศษ
ถึงที่พักที่อยู่ในหมู่ที่ว่าการบริเวณ เวลาเที่ยงครึ่งมีการประชุมข้าราชการ และพ่อค้าราษฎร ต้อนรับในปะรำใหญ่
เมื่อเสร็จการพิธีแล้ว ไปดูสระกะพังทองซึ่งมีบัวแล้วไปที่วัดพระธาตุชียงชุม
มีพระเจดีย์ยอดปิดทองแต่เป็นของก่อสวมเทวสถานของเก่าของพวกขอม ยังแลเห็นของเดิมได้ถนัด
เวลาบ่าย ๕ โมง เดินไปดูบริเวณเมือง และแวะบ้านพระยาประจันตประเทศธานี
เวลาค่ำราษฎรแห่ผ้าป่าเรี่ยไรผ่านมาหน้าที่พักให้อนุโมทนาเหมือนที่เมืองนครพนม

เมืองสกลนครนี้เป็นเมืองโบราณแต่ครั้งขอม แต่ร้างไปเสียพึ่งกลับตั้งเป็นเมืองขึ้นอีกชั้นหลัง
เมื่อในรัชกาลที่ ๓ มีท้องตราเก่า พระยาประจันตประเทศธานีรักษาไว้ฉบับ ๑
ได้ความเรื่องตั้งเมืองสกลนครและเมืองอื่นๆในมณฑลนี้เป็นเรื่องน่าพิศวง คือเมื่อครั้งเมืองเวียงจันทน์เป็นขบถ กองทัพกรุงเทพฯขึ้นไปปราบปรามตีได้เมืองเวียงจันทน์กวาดคนลงมาเป็นเชลย
แล้ว โปรดให้แบ่งราษฎรทางหัวเมืองที่ไม่ได้เป็นขบถไปตั้งเมืองในเขตเวียงจันทน์ที่ตีได้ คือเมืองหนองคาย เป็นต้น

ผู้คนทางข้างใต้ลงมาเบาบางไป และครั้งนั้นปรากฏว่า พวกราษฎรมณฑลนี้หนีไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ทางหัวเมือง
ต่อแดนญวน ตั้งแต่ครั้งกองทัพไทยไปตีเมืองเวียงจันทน์ ตั้งกรุงธนบุรีและหลังนี้มีอยู่เป็นอันมาก
จึงโปรดให้ไปเกลี้ยกล่อมพวกท้าวพระยาหัวหน้าคนที่หนีไปนั้น มีใครสมัครกลับมาก็ทรงตั้งให้มียศศักดิ์เป็นตำแหน่งเจ้าเมืองกรมการ ยกที่ร้างตำบลต่างๆขึ้นเป็นเมือง พวกท้าวพระยาเหล่านั้นเมื่อไปตั้งอยู่ที่เมืองใหม่จึงไปเกลี้ยกล่อมพวกพ้องของตัวทางฝั่งซ้ายกลับมา
ครั้นกิตติศัพท์ปรากฏ ก็มีพวกหัวหน้าที่อยากจะเป็นเจ้าเมืองมากขึ้น พากันกลับมาสามิภักดิ์ ก็โปรดให้เป็นเจ้าเมือง และตั้งเมืองอื่นๆขึ้นอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้ที่ร้างจึงกลับเป็นเมืองขึ้น บางทีถึงแย่งที่กันตั้งเมือง ดังปรากฏเช่นกล่าวมาที่เมืองไชยบุรี
พวกชาวเมืองท่าอุเทนเดิมอพยพกลับมาจะมาอยู่เมืองท่าอุเทน มีพวกอื่นมาตั้งอยู่ก่อนแล้ว
พวกชาวท่าอุเทนเดิมจึงต้องตั้งอยู่เมืองไชยบุรีจนทุกวันนี้ วิธีตั้งเมืองดังกล่าวมานี้เป็นประโยชน์ตลอดรัชกาลที่ ๓ ครั้นภายหลังเมื่อคนที่แตกฉานซ่านเซ็นกลับมาอยู่ฝั่งนี้โดยมากแล้ว พวกท้าวพระยาในเมืองที่ตั้งใหม่อยากจะได้เป็นเจ้าบ้านเจ้าเมือง ขอคุมสมัครพรรคพวกของตัวไปตั้งเมืองอื่นอีก จะได้ตั้งเมืองใหม่ ต่อมาในรัชกาลที่ ๔
จนความปรากฏว่าวิธีการตั้งเมืองใหม่ในชั้นหลัง แต่เป็นแย่งคนแย่งท้องที่กันในพระราชอาณาเขตนี้เอง จึงโปรดให้เลิกวิธีตั้งเมืองใหม่ทางมณฑลนี้เสียเมื่อในรัชกาลที่ ๕ ( ๑ )

เมืองสกลนครตั้งอยู่บนเนินลาด มีถนนกว้างใหญ่หลายสาย และมีถนนซอยขึ้นไป ระหว่างหมู่บ้าน
เป็นทางสี่แยกหลายแห่ง บ้านเรือนราษฎรมีรั้วไม้จริง และเป็นเรือนฝากกระดานหลังคากระเบื้องไม้โดยมากนับว่าเป็นเมืองที่มั่งคั่งมากกว่าหัวเมืองที่ผ่านมาแล้ว
โดยมาก แต่เขาว่าอากาศสู้ที่เมืองหนองคายไม่ได้ เพราะฤดูฝนลมพัดมาจากเขาภูพานมักมีความไข้ ราษฎรพลเมือง
๔๕, ๒๓๙ คน เป็นไทยต่างๆหลายชนิด คือ พวกผู้ไทย ไทยเกลิงซึ่งมาจากเมืองกระตาก
และไทยย้อ ไทยโย้ย เป็นต้น เรื่องคนชาติต่างๆ ทางมณฑลเหล่านี้
ข้าพเจ้าลองได้สอบทางภาษาทุกพวกที่ได้พบ ให้นับตามภาษาของเขาตั้งแต่ ๑ ไปจน ๑๐
แล้วจดไว้วิเคราะห์ดู เห็นมีแต่นับอย่างภาษาไทยกับภาษาเขมร ๒ อย่าง

 

รัชกาลที่ 6 พ. ศ.2453

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พ. ศ. 2453–2468)

จากเอกสาร “ บันทึกเหตุการณ์และหนังสือเข้า” ของคุณพ่อกอมบูริเออ เลขที่ 364
ลงวันที่ 1 มกราคม ค. ศ.1911 ( พ. ศ.2453) ความว่า
“ พระสุนทรธนศักดิ์ ปลัดมณฑลประจำเมืองสกลนคร ตอบอนุญาตมาถึงท่านบาทหลวง เจ กอมบูริเออ ในการที่ขอให้ราษฎรบ้านนาโพธิ์เว้นการโยธาสำหรับจะได้อยู่สร้างวัด และจัดแจงถนนหนทางบ้านนาโพธิ์
ให้สะอาดเรียบร้อย” ทำให้เราได้ทราบว่า คุณพ่อกอมบูริเออ ได้นำชาวบ้านสร้างวัดหลังที่ 2 ขึ้น
เป็นวัดขนาด 9 ห้องฝาขัดแตะพอกดินเหนียว แต่ก็ไม่มีรายละเอียดอะไรมากนักเกี่ยวกับวัดหลังที่สองนี้

พ . ศ. 2457 (1914)

รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ใหม่ ให้บ้านนาโพธิ์ ขึ้นตรงกับตำบลกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ตำบลสุมาลย์ซึ่งขึ้นกับอำเภอเมืองนครพนม ก็เปลี่ยนมาขึ้นกับอำเภอเมืองสกลนครตามเดิม

พ . ศ. 2461 (1918)

ยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้คนเริ่มสูญหายและหลบภัยสงครามหนีกระจัดกระจายกันไป

( สงครามโลกครั้งที่ 1 พ. ศ. 2457 - 2461 ค. ศ. 1914-1918)

พ . ศ. 2464 (1921)

รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้น บังคับให้เด็กอายุ 7–14 ปี ต้องเข้าเรียน
และใช้วัดในขณะนั้นเป็นสถานที่เรียน ปรากฏว่านักเรียนรุ่นแรกของโรงเรียนประจำหมู่บ้านมีประมาณ
13–14 คน อายุ 16–17 ปี กันทั้งนั้น หนังสือเรียนก็มีอยู่เล่มเดียว ส่วนสมุดที่ใช้เรียนก็ใช้แผ่นกระดานสีดำ
เขียนด้วยสอหินแทนสมุดและดินสอ เรียนเสร็จก็ลบแล้วเก็บไว้ วันใหม่ก็ใช้เรียนต่อได้

พ . ศ. 2465 (1922)

เป็นปีที่ข้าวยากหมากแพง เกิดโจรขโมยขึ้นเต็มบ้านเต็มเมือง นักเรียนหลายคนเริ่มออกจากโรงเรียน
เพื่อไปช่วยพ่อแม่หาเลี้ยงครอบครัวเพื่อความอยู่รอด ยามค่ำคืนจะนอนก็ต้องคอยนอนกันอย่างระวัง เวลากลางคืนหลายบ้านจะทำห่วงเชือกกระตุกไว้ที่ประตูทางเข้าออกของคอก
ถ้ามีขโมยก็จะพอช่วยให้ทันรู้ตัวได้บ้าง

ปี ค . ศ.1888 น.87

ไม่นานหลังจากที่ผมได้มาอยู่ที่บ้านคำเกิ้มคือในช่วงต้นเดือนธันวาคม ค. ศ.1887 นั้น
คุณพ่อเกโก มีเรื่องใหญ่กับเจ้าหน้าที่เมืองนครพนม คือเรื่องการจ่ายข้าวสองหมื่นซึ่งทุกคนจะต้องจ่ายในแต่ละปี
ให้แก่คลังข้าวของเมือง พวกสมัครเรียนคำสอนจากปากบังเหียนได้จ่ายส่วนของพวกเขาอย่างเป็นทางการสำหรับพวกที่อยู่ทางฝั่งขวาด้วย แต่เจ้าหน้าที่ไม่พอใจกับจำนวนสองหมื่นเท่านั้น
ต้องการตบภาษีมากกว่าโดยเรียกว่าขี้หนูซึ่งถือว่าเป็นการใช้อำนาจเกินควร
คุณพ่อเกโก ได้ไปพร้อมกับคนพวกนี้ที่นครพนมเพื่อต่อสู้กับเจ้าหน้าที่สำหรับพวกเขาและไม่เห็นด้วยกับ
การจ่ายภาษีขี้หนูนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้เจ้าหน้าที่จึงจับคริสตังสำรองของคุณพ่อเกโก 5-6 คน ขังคุก
ตามกฎหมายคุณพ่อกระทำถูกต้องแต่สู้อำนาจของเขาไม่ได้คุณพ่อจึงต้องคอตกกลับไป คำเกิ้ม
และได้เล่าเรื่องทั้งหมดนี้ให้ผมฟัง หลังจากที่ได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง
ได้มี การตกลงกันว่า คุณพ่อจะต้องเดินทางไปอุบลฯ เพื่อรายงานเรื่องราวให้คุณพ่อโปรดมได้รับทราบ
ซึ่งขณะนั้นกำลังเตรียมตัวเดินทางไปกรุงเทพฯพอดี เพื่อขอให้ท่านนำเอาเรื่องการกระทำของเจ้าหน้าที่เมืองนครพนม
ไปเรียนให้กระทรวงการต่าง ประเทศของสยามได้ทราบ คุณพ่อเกโกไปถึงอุบลฯหลังจากที่คุณพ่อโปรดม
ได้ออกเดินทางไปกรุงเทพฯแล้ว กระนั้นก็ดี คุณพ่อได้ ไปฟ้องกระทรวงการต่างประเทศอยู่ดีโดยผ่านทางพระยาราชเสนา
ตัวแทนของพระมหากษัตริย์ สยามที่อุบลฯ โดยขอร้องให้ท่านส่งเรื่องราวต่อไปที่กรุงเทพฯให้
ซึ่งท่านยินดี ทำให้่ที่มากไปกว่านั้นคือท่านได้มีจดหมายไปถึงเจ้าหน้าที่เมืองนครพนม
เพื่อเตือนพวกเขาให้เพลาๆมือลงหน่อย โดยบอกพวกเขาถึงการที่ท่านบาทหลวงเกโก ได้กล่าวโทษพวกเขาและบอกให้พวกเขา รอคำตอบจากราชสำนักซึ่งจะมาถึงภายในไม่ช้านี้
คำตอบจากกรุงเทพฯมาถึงพระยาราชเสนา ในเดือนมิถุนายน ค. ศ.1888
โดยสั่งให้จัดการเรื่องนี้ให้ คำตัดสินให้เจ้าหน้าที่เมืองนครพนมยังคงปกครองต่อไปได้
แต่เรื่องนี้ได้เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่เมืองนครพนมใช้เป็นข้ออ้างในการเบียดเบียนคริสตังสำรอง
อย่างไรก็ดี พระเป็นเจ้าได้ทรงยื่นพระหัตถ์เข้าช่วยโดยทรงให้เกิดมีความตายอย่างน่าพิศวงกับ 3 ใน 4
ของเจ้าหน้าที่ที่เบียดเบียน

พ . ศ. 2428

เนื่องจากองค์การศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้เริ่มส่งบาทหลวงขึ้นมาเผยแพร่ ในภาคอีสานเป็นครั้งแรก
โดยคำสั่งของสังฆราชหลุย์เวย์จากกรุงเทพฯ โดยส่งบาทหลวง อเล็กซิสโปรดมและบาทหลวงซาร์เวียร์เกโก
มายังเมืองอุบลราชธานีตั้งแต่ ปี พ . ศ. 2424 เป็นต้นมา และตั้งวัดเผยแพร่ศาสนาคริสต์อยู่ที่บ้านบุงกะแทวเป็นวัดแรก
ครั้นถึง พ. ศ. 2426 ได้เผยแพร่และขยายขึ้นมาตามหัวเมืองในลุ่มแม่น้ำโขง ต่อมาได้ตั้งวัดศาสนาคริสต์ที่บ้านท่าแร ่ริมน้ำหนองหาร
เมืองสกลนครใน พ. ศ. 2427
ต่อมาในปี พ. ศ. 2428 ได้ตั้งวัดศาสนาคริสต์ทบ้านสองคอน เขตเมืองมุกดาหาร
ต่อมาบาทหลวงซาร์เวีย์เกโก้ี่ (Xavier Guego) ได้ตั้งวัดศาสนาคริสต์ที่เกาะดอนโดน
( กลางแม่น้ำโขงหน้าเมืองนครพนม)
และที่บ้านหนองแสงเขต เมืองนครพนม สำหรับบาทหลวงซาร์เวีย์เกโก้ผู้นี้ได้ประจำอยู่ในวัดศาสนาคริสต์แถบ
ลุ่มแม่น้ำโขงต่อมาถึง 20 ปีกว่า จนพูดภาษาไทยและภาษาลาวได้คล่องแคล่ว ต่อมาจึงปรากฏว่าบรรดาข้าทาส ได้หลบหนีจากเจ้าขุนมูลนายไปหลบซ่อนอยู่กับบาทหลวงและนับถือศาสนาคริสต์เป็นจำนวนมากไม่น้อย
เมื่อกรมการเมืองจะเข้าไปขอตรวจค้นหรือสอบสวนว่ามีข้าทาษได้หลบหนีเจ้าขุนมูลนายหรือกรมการเมือง
จะเข้าไป เกณฑ์แรงงาน หรือเก็บส่วยพวกที่เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ บาทหลวงก็ไม่ให้ความร่วมมือ
จึงเกิดวิวาทบาดหมาง ระหว่างกรมการเมือง และบาทหลวงอยู่เนืองๆ จนมีการฟ้องร้องกันลงไปที่กรุงเทพฯ หลายครั้งหลายหน
จนต่อมา ( หรุ่น ศรีเพ็ญ) ข้าหลวงใหญ่ที่ประจำอยู่ที่นครจำปาศักดิ์และพระยาราชพระยามหาอำมาต์เสนา
( ทัด ไกรฤกษ์) ข้าหลวงที่ประจำอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี ต้องส่งตลาการมาตัดสินที่เมืองนครพนม
ในคดีพิพาทระหว่างบาทหลวง และกรมการเมืองนครพนม

( จากเอกสาร ร .5 มท.2 จ. ศ.1249 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ )

 

ติดตามอ่าน ตอนที่ 5
นาโพธิ์ ถิ่นภูไท


ฟังเล่าประวัติหมู่บ้านภาษาภูไท


Forum-กระดานข่าวชาวนาโพธิ์
รับจัดทำเว็บ-วิทยุ ทีวีออนไลน์ 089 863 3349
ชมประวัตินาโพธิ์ ถิ่นภูไท

 

 


กลับหน้าหลัก   ชมหน้าต่อไป


 
 

 
 

ซิสเตอร์
สังวาลย์ เนืองทอง


ซิสเตอร์
นวลมณี ถิ่นวัลย์




ซิสเตอร์
ส่องแสง ถิ่นวัลย์


ซิสเตอร
โลซาแห่งลีมา
รัตนากร มะหัตกุล




เซอร์
วรรณา เนืองทอง




  ประมวลภาพ ตลาดนัด เช้า ครั้งที่ 12
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ เออีซี
ตำบลนาโพธิ์ หรือ ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน 2557


สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์
วิทยุและโทรทัศน์ จังหวัดสกลนคร

ร่วมงานแถลงข่าว
Robinson Futsal Cup 2014
ณ โรบินสัน สาขาสกลนคร
เมื่อวันอังคารที่10 มิถุนายน 2557


ประมวลภาพ ตลาดนัด เช้า ครั้งที่ 11
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ เออีซี
ตำบลนาโพธิ์ หรือ ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง


เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2557

ประมวลภาพ คสช
คืนความสุขสู่ประชาชน

ณ ศาลาประชาคม วัดคาทอลิกนาโพธิ์
มีผู้ร่วมงาน ราว 300 คน
เมื่อวันพุธที่ 4 มิถุนายน 2557


สรุปผลการปฎิบัติงานสหกรณ์
เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125 จำกัด
ระดับกลุ่ม รายการรับวันนี้
จำนวน 36,199 บาท
อนุมัติเงินกู้ 115,500 บาท


อาทิตย์ต้นเดือนที่ 1 มิถุนายน 2557


ประมวลภาพ ตลาดนัด เช้า ครั้งที่ 3
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ เออีซี
ตำบลนาโพธิ์ หรือ ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง


เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน 2557


ประมวลภาพ ตลาดเย็น ครั้งที่ 10
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ เออีซี ตำบลนาโพธิ์

หรือ ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม 2557


รวมประกาศ
คณะรักษาความสงบแห่งชาต
(สื่อ-สหกรณ์)
National peace and Order Maintaining Council 24/05/2557

ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 32 /2557


ประมวลภาพ ตลาดเย็น ครั้งที่ 9
ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม 2557


พล.ต.ธนกร จงอุส่าห์
ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสกลนคร
ประธาน กอ.รส. จังหวัดนัดหมายพบสื่อมวลชน

ณ สโมสรทหารจังหวัดสกลนคร
เมื่อ 21 พฤษภาคม 2557
โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ160คน






ประมวลภาพ ตลาดเย็น ครั้งที่ 6
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ เออีซี
ตำบลนาโพธิ์


หรือ ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557


ประกาศสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
นาโพธิ์ 125 จำกัด
แจ้งผลการดำเนินงานระดับกลุ่ม

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม 2557
(วันอาทิตย์ต้นเดือน)


ตลาดเช้า และตลาดเย็น
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม 2557
เวทีและบรรยากาศตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง
ที่นาโพธิ์ เมื่อ 1 พฤษภาคม 2557

ขอขอบคุณ ศิลปิน ครูเพลงและพิธีกร
แดน ดวงตะวัน, หรั่ง มงคล อาจารย์โย
บ่าวยะ ชมรมคนรักศิล พระอาจารย์ประถม



:: ปฏิทินสงฆ์สัมพันธ์
   อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ::


สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125 จำกัด
เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2557
ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ
ณ โรงแรม ทาวน์ อิน ทาวน์ กทม.


เมื่อวันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2557/2014


ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
แถลงข่าวประชาสัมพันธ์
การระดมทุนเพื่อบูรณะฯ
ยอดฉัตรองค์พระธาตุเชิงชุม

องค์พระธาตุเชิงชุม เมื่อ 24 ม.ย.2557


แนะนำปุ๋ยอินทรีย
์ตราสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
กระสอบละ 400 บาท

สอบถามและสั่งซื้อได้ที่
089 863 3349


ประมวลภาพ
พิธีล้างเท้าอัครสาวกพิธีเฝ้าศิล
ที่วัดนาโพธิ์ 2014


เมื่อวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์
17 เมษายน 2557



ตลาดพอเพียงโพธิืทอง
ทุกเย็นวัน พฤหัสบดี
ตลาดเช้าทุกวันที่ 1 ของเดือน



ชมประมวลภาพ พิธีรดน้ำขอพร ผู้สูงอายุ วันสงกรานต์
ณ ศาลาวัดคาทอลิกนาโพธิ์


อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
เมื่อวันอาทิตย์ีที่ 13 เมษายน 255
7

ชมประมวลภาพ พิธีแห่ใบลาน
วัดคาทอลิกนาโพธิ์ ตำบลนาโพธิ์
อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร


เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน 2557


สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125 จำกัด
นายประสงค์ เนืองทอง ประธานกรรมการ
และคณะกรรมการบริหาร

ออกหน่วยสร้างความรู้ความเข้าใจ
กระบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
และรับสมัครสมาชิกใหม่ณ
ที่ทำการผู้ใหญ่บริสุทธิ์ ผาละพัง
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่3 บ้านบอน

วันอังคารที่ 8 เมษายน 2557
มอบสวัสดิการ สก.2 แก่สมาชิก
ชมสรุปผลและภาพกิจกรรม

วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2557
วันอาทิตย์ต้นเดือน


ประมวลภาพพิธีเปิดโครงการ
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่เออีซี ตำบลนาโพธิ์

คุณพ่อชำนาญ บัวขันธ์
ประธานพิธีและที่ปรึกษา
เป็นประธานกรรมการ
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2557

ประกาศสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ ฯ
แจ้งผลการดำเนินงานระดับกลุ่ม
เมื่อสิ้นเดือน กุมภาพันธ์ 2557

และวันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม 2557 วันอาทิตย์ต้นเดือ



:: ปฏิทินสงฆ์สัมพันธ์
   อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ::



เปิดสอนการใช้โปรแกรมและการสร้างเว็บเพจ
การเชื่อมต่อและส่งข้อมูล ภาพ เสียง วีดีโอ ขึ้นเว็บตัวเอง
การทำ วิทยุ ออนไลน์ และ วิดีโอออนไลน์

และแนะนำการใช้งานโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง
7-11 เมษายน 2557
ระหว่างเวลา 13.30 - 15.30 น.
รับประกัน ใช้งานได้ 100 %

 

ชมประมวลภาพงาน
"สายสัมพันธ์วันนักข่าว"

สมาคมนักข่าวฯ สกลนคร
เมื่อ 5 มีนาคม 2557



ต้องการขายบ้าน 1,500,000.-
ที่ศรีสงคราม จ.นครพนม

รายละเอียด

ร่วมประชุมสมาคมนักข่าวฯ
จังหวัดสกลนคร จัดงานวันนักข่าว
5 มีนาคม 2557

ณศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ บ้านนานกเค้า ต.ห้วยยาง

อ.เมือง จ.สกลนคร
บัตรราคา โต๊ะละ ๒,๔๐๐ บาท
สอบถามที่ ๐๘๑-๐๕๑๘๑๑๕



:: ปฏิทินสงฆ์สัมพันธ์
   อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ::




นายประสงค์ เนืองทอง ประธานกรรมการ และคณก.ฯ

ร่วมแสดงความอาลัย
นายสมคิด หงษ์ศรีเมือง
สมาชิกเครดิตฯเสียชีวิต
เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2557


ประมวลภาพฉลองวัดคาทอลิกนาโพธิ์
14 กุมภาพันธ์ 2014


ชมหน้า 1


ประมวลภาพฉลองวัดคาทอลิกนาโพธิ์
14 กุมภาพันธ์ 2014

ชมหน้า
2

บัดนี้ คณะกรรมการฯ
ได้ดำเนินการจดทะเบียน
เป็นสหกรณ์แล้ว

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2556ในชื่อ
“สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์125 จำกัด”

: ปฏิทินสงฆ์สัมพันธ์
   อัครสังฆมณฑล
   ท่าแร่-หนองแสง ::


ชมการเล่นสะโลอ๊อหรือสะลา
ฟังประวัติความเป็นมา

ของชาวโส้บ้านโคกม่วง
ต.นาโพธิ์ อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร



วันนี้ วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557
ผมเลือกใช้ NanoBridge M5-25
เพื่อติดตั้งระบบ ส่ง Wifi
ระยะไกล 4.4 Km.


ประมวลภาพ พิธีฌาปนกิจศพ
คุณพ่อสมวน สุวรรณคำ

(บิดาคุณรัชนี สุวรรณคำ
ผู้ก่อตั้งนาโพธิ์เรดิโอ)

เมื่อ 25 มกราคม 2557


การประชุมใหญ่ครั้งแรก
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์
๑๒๕ จำกัด


๒๔ มกราคม ๒๕๕๗


พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ โอกาส ทำบุญโรงเรียน ประจำปี 2557

คุณพ่อ ธัญญา ศรีอ่อน
เจ้าอาวาสวัดนาโพธิ์ ประธานพิธ
วันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2557


 




  ลาทีปีเก่า 2556   บ้านของเรา...ครอบครัวของเรา

เมื่อ 31 ธันวาคม 2013

Thailand Christmas Festival 2013
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
ขอเชิญรับชมบรรยา กาศค่ำคืน
วันคริสต์มาส 23 ธันวาคม ค.ศ. 2013


รับชมภาพการแห่ดาว
จากอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่



ชมภาพโครงการ ทำความดีเชิดชูบูชาพ่อ2554

-โครงการ
- คำมงคล ที่ศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก
- ผู้แจ้งความประสงค์จัดตั้งโรงทานปี 2554
-
ประมวลภาพกิจกรรมที่ 1 ศาสนพิธี
 
วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2554
- สรุปและประมวลภาพกิจกรรมที่ 2 โรงทาน

สรุปและประมวลภาพงานเชิดชูบูชาพ่อ
และ 9 ปีนาโพธิ์เรดิโอ
กิจกรรมที่ 2 
วาดภาพ ร้องเพลง โรงทาน
หมอลำย้อนยุค 

เมื่อ 8 ธันวาคม 255
6




ชมการเล่นสะโลอ๊อหรือสะลา
ประวัติและวิธีการเล่น
ของชาวไทโส้บ้านโคกม่วง
ต.นาโพธิ์ อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร

ขาย สินค้าชุมชน
(รายละเอียดชมสินค้าและ
OTOP ชุมชน )
08 3290 1164 ตลอดปี


งานมหกรรมบัว
    อุทยานบัวหนองหาร
    วันแรก 2010-10-20

 
ยือนถิ่นภารตะ สักการะสถาน
   ประสูติตรัสรู้และปรินิพพาน
   ตอน เยี่ยมบ้านนางสุชาดา

  ประวัติความเป็นมาวันคริสต์มาส

  เยือนถิ่นภารตะ สักการะสถาน
    ประสูติตรัสรู้ และปรินิพพาน
    ตอน แม่น้ำเนรัญชรา


สารนาถ ธรรมเมกขสถูป
    สถูปผู้เห็นธรรม
    ศาสนสถานโบราณ


รวมบทความ
และภาพประทับใจ
คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์
วันแรกที่โรม
ตุลาคม 2007
พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ
เปิดปีการศึกษา 2009-2010
และอำลาพี่น้องคนไทยในโรม
คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์
พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้
    ของพระพุทธเจ้า
    ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน


 

ฟังเพลงกับ....
หนุ่มน้อย คนภูไท
นาโพธิ์ถิ่นภูไท
ภูไทสัมพันธ์
ภูไทใจช้ำ

เยือนสิงคโปร์

20 กันยายน 2012

รสชาดโจ๊กกบหม้อดิน

ที่ Lavender สิงคโปร์

วันชื่น-คืนสุข

Sheraton Tower Singapore
22 กันยายน 2
012

เที่ยวเกาะมหาสนุก

Sentosa 21 กันยาย 2012   

naphoradio WiFi ติดตั้ง
ชุดเชื่อมโยงเครือข่ายไร้สาย
ระยะไกล10-30 กิโลเมตร

ส่งไปที่ศูนย์ฯวังสวนกล้วย
เมื่อ ศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2556


 

เกี่ยวกับวิทยุ


 
 
เพื่อนบ้านของเร

โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม
 โรงเรียนไพศาลวิทยา
โรงเรียนบ้านกุดฮู
โรงเรียนบ้านบอนสหราษฎร์ฯ
โรงเรียนบ้านม่วง
โรงเรียนบ้านอีกุด
โรงเรียนบ้านโคกม่วง
โรงเรียนอนุบาลย์กุสุมาลย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ม.เกษตรศาสตร์ ฉกส.
สนง.ขนส่งจังหวัดสกลนคร
ตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร
อบจ.วัดสกลนคร
ประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร
ท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร
สถานีตำรวจภูธร อ.กุสุมาลย์
เทศบาลตำบลกุสุมาลย์
เทศบาลตำบลท่าแร่
เทศบาลตำบลเชียงเครือ

สพท.สกลนคร เขต 1
สพท.สกลนคร เขต 2
สพท. สกลนคร เขต 3
มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
จังหวัดสกลนคร
จังหวัดนครพนม
พัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร
โรงพยาบาลกุสุมาลย์
โรงพยาบาลสกลนคร
สำนักงานสาธารณสุขสกลนคร
คลื่นวิทยุระบบ FM.
     และวิทยุชุมชนจังหวัดสกลนคร
    (แยกรายอำเภอและคลื่นความถี่)

คนเขียนเพลง(ทีมงานครูสลา)
108 อาชีพ

ธนาคาร อัตราแลกเปลียน
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
 ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพฯ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารไทยพาณิิชย์
 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
 บมจ.ธนาคารกรุงไทย
 ธนาคารกสิกรไทย
 ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ
ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการส่งออก
      และนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารนครหลวงไทย
นาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
 นครธน จำกัด (มหาชน)
 ธนาคารเอเชียจำกัด(มหาชน)
 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ
     ขนาดกลางและขนาดย่อมฯ
ซิตี้แบงค์ ไทยแลนด์
ธนาคารกรุงไทย ชาริอะฮ์
ธนาคารธนชาตจำกัด(มหาชน)
ธนาคารยูโอบี รัตนสิน
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
 ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด
      (มหาชน
)




อุตุนิยมวิทยา


กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา

1
ดาวน์โหลดโทรฟรีทั่
วโลก
ส่วนราชการ หน่วยงาน
สำนักพระราชวัง
รัฐบาลไทย
สำนักนายกรัฐมนตร
นักเรียนไทยในสหรัฐฯ
กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงกลาโหม
กระทรวงการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงพัฒนาสังคม
      และความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงการท่องเที่ยว-กีฬา
กระทรางเกษตรฯ
กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัยพากรฯ
     และสิ่งแวดล้อ
กระทรวงพลังงาน
กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน
กระทรวงวิทยาศาสตร์
    และเทคโนโลย
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงเทคโนโลยี
     สารสนเทศและการสื่อสาร
กระทรวงวัฒนธรรม
สนง.หลักประกันสุขภาพฯ
กรมประชาสัมพันธ์
กทช.
กรมพัฒนาชุมชน
กรมสรรพากร
สำนักงานสลากกินแบ่งฯ
สำนักงาน ป.ป.ส.
การท่องเทียวฯ
หนังไทยในอดีต
สปสช.เขต 8 อุดรธานี
 
 

 
 

www.free-counter-plus.com
Update 2015-04-13
เริ่มใช้เมื่อ 7 ธันวาคม 2550