โดย ประสงค์ เนืองทอง
ตอนที่ 5
จากเมืองเวเรณู … สู่
นาโพธิ์ถิ่นภูไท
พ . ศ. 2428 ค. ศ. 1885
เนื่องจากองค์การศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้เริ่มส่งบาทหลวงขึ้นมาเผยแพร่ในภาคอีสานเป็นครั้งแรก
โดยคำสั่งของสังฆราชหลุย์เวย์จากกรุงเทพฯ โดยส่งบาทหลวงอเล็กซิสโปรดมและบาทหลวงซาร์เวียร์เกโก้มายังเมืองอุบลราชธานี
ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2424 เป็นต้นมา และตั้งวัดเผยแพร่ศาสนาคริสต์อยู่ที่บ้านบุงกะแทว
เป็นวัดแรก ครั้นถึง พ. ศ. 2426 ได้เผยแพร่และขยายขึ้นมาตามหัวเมืองในลุ่มแม่น้ำโขงได้ตั้งวัด
ศาสนาคริสต์ที่บ้านท่าแร่ ริมน้ำหนองหาร เมืองสกลนคร ใน พ. ศ. 2427 ต่อมาในปีต่อมา
พ. ศ. 2428 ได้ตั้งวัดศาสนาคริสต์ที่บ้านสองคอน เขตเมืองมุกดาหาร ต่อมาบาทหลวงซาร์เวีย์เกโก้
(Xavier Guego) ได้ตั้งวัดศาสนาคริสต์ที่เกาะดอนโดน ( กลางแม่น้ำโขงหน้าเมืองนครพนม)
และที่บ้านหนองแสงเขตเมืองนครพนม สำหรับบาทหลวงซาร์เวีย์เกโก้ผู้นี้ได้ประจำอยู่ในวัดศาสนาคริสต์
แถบลุ่มแม่น้ำโขงต่อมาถึง 20 ปีกว่า จนพูดภาษาไทยและภาษาลาวได้คล่องแคล่ว
ต่ือมาจึงปรากฏว่า บรรดาข้าทาสได้หลบหนีจากเจ้าขุนมูลนายไปหลบซ่อนอยู่กับบาทหลวงและนับถือ
ศาสนาคริสต์เป็นจำนวนมากไม่น้อย มื่อกรมการเมืองจะเข้าไปขอตรวจค้นหรือสอบสวนว่ามีข้าทาษได้
หลบหนีเจ้าขุนมูลนายหรือกรมการเมืองจะเข้าไปเกณฑ์แรงงาน หรือเก็บส่วยพวกที่เข้ารีตนับถือศาสนา
คริสต์ บาทหลวงก็ไม่ให้ความร่วมมือ จึงเกิดวิวาทบาดหมางระหว่างกรมการเมือง และบาทหลวงอยู่เนืองๆ
จนมีการฟ้องร้องกันลงไปที่กรุงเทพฯ หลายครั้งหลายหน จนต่อมาพระยามหาอำมาต์( หรุ่น ศรีเพ็ญ)
ข้าหลวงใหญ่ที่ประจำอยู่ที่นครจำปาศักดิ์และพระยาราชเสนา ( ทัด ไกรฤกษ์)
ข้าหลวงที่ประจำอยู่ที่ เมืองอุบลราชธานีต้องส่งตลาการมาตัดสินที่เมืองนครพนม
ในคดีพิพาทระหว่างบาทหลวงและกรมการเมืองนครพนม
พ . ศ.2430 ค. ศ.1887
กลุ่มคริสตังบ้านนาโพธิ์กลุ่มหนึ่งเป็นทาสมาจากเมืองเว ในอำเภอเรณู จังหวัดนครพนม ก่อนหน้า
ที่จะอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านนาโพธิ์นั้น พวกเขาทราบว่าได้มีการเลิกทาสแล้ว แต่ที่เมืองเว
เรณูนคร ยังมีการใช้ทาสอยู่ จึงได้ส่งตัวแทนของทาสมาติดต่อกับคุณพ่อยอแซฟ กอมบูริเออ
สามครั้งด้วยกัน โดยใช้ช่วงเวลาที่พวกเขาไปนอนเฝ้าวัวควาย( เฝ้าฮ้าง) เดินทางจากเมืองเว
มาพบคุณพ่อที่ท่าแร่ จนปี 1887( พ. ศ.2430)
คุณพ่อกอมบูริเออจึงได้ไปรับพามาอยู่ที่บ้านท่าแร่ก่อน แล้วจึงหาที่ให้เขาทำมาหากินต่อไป
โดยให้พักอาศัยอยู่บริเวณหนองแร่ติดหนองหารด้านทิศตะวันออกของบ้านท่าแร่ในระยะเริ่มแรก
เพื่อเรียนคำสอนa ประมาณ 2 ปีเศษ* จากนั้นจึงย้ายผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่บ้าน นาโพธิ์ในปัจจุบัน
โดยช่วงแรกๆ ยังคงดินทางไปร่วมพิธีมิสซาที่ท่าแร่* คุณพ่อจึงให้เขาตั้งหลักแหล่งที่นั่นในปี ค. ศ. 1888
( พ. ศ.2431)
ในชั้นแรกมี ประมาณ 20 ครอบครัว เป็นชาวโซ่และชาวภูไทปนกัน แต่ชาวบ้านพูดภาษาภูไทเป็นภาษา
พื้นบ้าน ส่วนนามชื่อของวัดนั้นได้เลือกนักบุญมารีอา มักดาเลนาให้เป็นองค์อุปถัมภ์
พ . ศ.2430 ค. ศ.1888 น
ไม่นานหลังจากที่ผมได้มาอยู่ที่บ้านคำเกิ้มคือในช่วงต้นเดือนธันวาคม ค. ศ.1887 นั้นคุณพ่อเกโก มีเรื่องใหญ่กับเจ้าหน้าที่เมืองนครพนมคือเรื่องการจ่ายข้าวสองหมื่นซึ่งทุกคนจะต้องจ่ายในแต่ละปี
ให้แก่คลังข้าวของเมืองพวกสมัครเรียนคำสอนจากปากบังเหียนได้จ่ายส่วนของพวกเขาอย่างเป็น
ทางการสำหรับพวกที่อยู่ทางฝั่งขวาด้วยแต่เจ้าหน้าที่ไม่พอใจกับจำนวนสองหมื่นเท่านั้นแต่ต้อง
การตบภาษีมากกว่า โดยเรียกว่าขี้หนูซึ่งถือว่าเป็นการใช้อำนาจเกินควร คุณพ่อเกโกได้ไปพร้อม
กับคน พวกนี้ที่นครพนมเพื่อต่อสู้กับเจ้าหน้าที่สำหรับพวกเขาและไม่เห็นด้วยกับการจ่ายภาษีขี้หนู
นี้เมื่อเป็น เช่นนี้เจ้าหน้าที่จึงจับคริสตังสำรองของคุณพ่อเกโก 5-6 คนขังคุกตามกฎหมายคุณพ่อ
กระทำถูกต้องแต่สู้อำนาจของเขาไม่ได้คุณพ่อจึงต้องคอตกกลับไปคำเกิ้มและได้เล่าเรื่องทั้งหมด
นี้ให้ผมฟัหลังจากที่ได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างถี่ถ้วนอีกครั้งได้มีการตกลงกันว่าคุณพ่อจะต้องเดิน
ทางไปอุบลฯเพื่อรายงาน เรื่องราวให้คุณพ่อโปรดมได้รับทราบซึ่งขณะนั้นกำลังเตรียมตัวเดินทาง
ไปกรุงเทพฯพอดเพื่อขอให้ท่านนี นำเอาเรื่องการกระทำของเจ้าหน้าที่เมืองนครพนม้ไปเรียน
ให้กระทรวงการต่างประเทศของสยามได้ทราบ คุณพ่อเกโก ไปถึงอุบลฯหลังจากที่คุณพ่อ
โปรดมได้ออกเดินทางไปกรุงเทพฯแล้ว กระนั้นก็ดคุณพ่อได้ไปฟ้องกระทรวงการต่างประเทศ
อยู่ดีโดยผ่านทางพระยาราชเสนาตัวแทนของพระมหากษัตริยสยามที่อุบลฯ โดยขอร้องให้ท่าน
ส่งเรื่องราวต่อไปที่กรุงเทพฯให้ ซึ่งท่านยินดีทำให้แต่ที่มากไปกว่านั้นคือท่านได้มีจดหมาย
ไปถึงเจ้าหน้าที่เมืองนครพนมเพื่อเตือนพวกเขาให้เพลาๆมือลงหน่อยโดยบอกพวกเขาถึงการ
ที่ท่านบาทหลวงเกโกได้กล่าวโทษพวกเขาและบอกให้พวกเขารอคำตอบจากราชสำนัก
ซึ่งจะมาถึงภายในไม่ช้านี้
คำตอบจากกรุงเทพฯมาถึงพระยาราชเสนา ในเดือนมิถุนายน ค. ศ.1888 โดยสั่งให้จัดการเรื่องนี้ให้
คำตัดสินให้เจ้าหน้าที่เมืองนครพนมยังคงปกครองต่อไปไดแต่เรื่องนี้ได้เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่เมือง
นครพนม้ ใช้เป็นข้ออ้างในการเบียดเบียนคริสตังสำรอง อย่างไรก็ดพระเป็นเจ้าได้ทรงยื่นพระหัตถ์
เข้าช่วยโดยทรงให้เกิดมีความตายอย่างน่าพิศวงกับ 3 ใน 4 ของเจ้าหน้าที่ที่เบียดเบียน
พ . ศ. 2437 ค. ศ. 1894
ชาวภูไทอีกกลุ่มหนึ่ง จากเมืองเว เรณูนคร ประมาณ 7-8 ครัวเรือน เดินทางมาตั้งบ้านเรือนเพิ่มโดย
มีพ่อเฒ่าแค้น พ่อเฒ่าหลอย พ่อเฒ่าสีกา แม่เฒ่าหล้า พ่อปัด พ่อเฒ่าป้อม นามสกุลโพธิ์ดำ
พ่อเฒ่าสีทองแดง พ่อเฒ่าสาง แม่เฒ่าบุดดา พ่อเฒ่าเหลียว นามสกุลมหัตกุล พ่อเฒ่าสาง
นางคำตา( ไม่ทราบนามสกุลเดิม) รวมอยู่ในครั้งนั้นด้วย ซึ่งต่อมาได้แต่งงานกับนายหนั่น เนืองทอง
และมีบุตร อันได้แก่ นายเลา เนืองทอง และญาติพี่น้องอีกหลายคน ( ปู่คือ นายเลา เนืองทอง
อายุ 84 ปี เล่าให้ผู้เขียนฟัง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2528 ขณะนั้นมีอายุ 80 ปี พ่อคือ
นายหนั่น เนืองทอง เป็นชาวพม่า มาจากเมือง มอระแม กุลาก็คือพวกพม่า
ที่ชอบค้าขายและเดินทางอยู่เสมอๆ กุลาอีกกลุ่มหนึ่งเป็นข้า ( ทาส) ของอ๋องไห ข่าจะลี
ข่าตะโอ๊ยจากจำปาศักดิ์* )
มาอาศัยอยู่ จากคำบอกเล่าของนายหัสดี เล่าว่าก่อนที่จะดินทางไปท่าแร่นั้นได้มาหยุดพักที่บ้าน
นาโพธิ์ในปัจจุบันก่อนโดยใช้เวลานานเท่าใดไม่ปรากฏ ( ผู้เขียนสันนิษฐานว่าน่าจะไม่เกินสองถึงสามเดือน)
เพื่อได้ทำการล่าสัตว์เป็นอาหาร และสะสมสะเบียงในการเดินทางเนื่องจากในที่บริเวณแห่งนี้มีสัตว์ป่า
มากมายหลายชนิด จากนั้นจึงเดินทางต่อไปพักครอบครัวเพื่อหาที่ทางทำมาหากินอยู่ที่บ้านโพนงาม อำเภอโพนนาแก้วในปัจจุบัน ซึ่งได้ใช้เวลาอยู่ที่นี่ไม่นาน ทำมาหากินไม่สะดวกเพราะมีแต่กุ้งหอยปูปลา
ไม่มีที่ล่าสัตว์ป่า กอรปกับไม่คุ้นเคยกับการใช้ชีวิต ตามแบบอย่างของชาวท่าแร่ที่อยู่เดิม
จึงตกลงใจชักชวนกันย้ายกลับมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนรวมกับผู้ที่อยู่เดิม
33 จากคำบอกเล่าของนางสิงห์คำ สูตรสุคล อายุ 84 ปี ที่ได้ยินนายกงจันทร์ เนืองทอง
ผู้เป็นบิดาและเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้อพยพมาในครั้งนั้นเล่าให้ฟังเวลาเป็นเด็กทำให้ทราบว่า
คุณพ่อกอมบูริเออประสงค์จะให้ชาวนาโพธิ์ตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณหนองแร่ใกล้ท่าแร่เพื่อ
ความสะดวกในการดูแลและอภิบาล แต่พวกเขาไม่สามารถอยู่ไดแม้บริเวณดังกล่าว้ในสมัยนั้น จะอุดมด้วยสัตว์น้ำนานาชนิดเนื่องจากอยู่ติดหนองหารแต่ปัญหาใหญ่ที่ทำให้พวกเขาตัดสิน ใจย้ายไปอยู่ที่ใหม่อันเป็นที่มาของบ้านนาโพธิ์ในปัจจุบันเพราะบริเวณที่พวกเขาอยู่ในระยะ เริ่มแรกไม่มีที่สำหรับทำไร่ทำนาประกอบกับเมื่อถึงฤดูฝนน้ำจะท่วมถึงทำให้ไมสะดวก
ใน การตั้งหลักแหล่งในบริเวณดังกล่าว
จากหลักฐานทะเบียนศีลล้างบาปที่บันทึกโดยคุณพ่อกอมบูริเออในโอกาสสมโภชพระนางมารีย์
รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ วันที่ 15 สิงหาคม ค. ศ.1888 ( พ. ศ. ๒๔๓๑)คุณพ่อได้โปรดศีลล้างบาป
แก่คริสตชนชาวนาโพธิ์กลุ่มแรกจำนวน 8 คน ที่วัดมหาพรหมมีคาแอล หนองหาร จนถึงเดือน
มิถุนายนค. ศ.1889 ( พ. ศ.2432)มีผู้รับศีลล้างบาปเพิ่มอีกรวมจำนวน 11 คนแสดงว่าคริสตชน
ชาวนาโพธิ์ตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณหนองแร่ประมาณ 2 ปี ที่สุด คริสตชนใหม่และผู้เตรียมตัวเป็น
คริสตชนประมาณ 20 ครอบครัว ราว 120 คนได้ย้ายไปหาที่ทำกินใหม่ที่เหมาะสมและอุดมสมบูรณ์
กว่าบริเวณลำห้วยโพธิ์ ห้วยลึก และห้วยจับห่างจากบ้านท่าแร่ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 15
กิโลเมตรซึ่งสมัยนั้นยังคงเป็นป่าทึบมีสัตว์ป่านานาชนิดเนื่องจากบริเวณดังกล่าวเต็มไปด้วย ต้นโพธิ์
จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “ นาโพธิ์” ในชั้นแรกคุณพ่อกอมบูริเออ คงไม่เห็นดีด้วยเห็นได้จากลักษณะ
การก่อตั้งบ้านเรือนของชาวนาโพธิ์ไม่มีการวางผังที่เป็นระเบียบสวยงามเหมือนวัดท่าแร่ ช้างมิ่ง
นาบัวและทุ่งมน ที่คุณพ่อได้ก่อตั้ง
ในระยะนั้นชาวบ้านที่ย้ายมาอยู่ใหม่นับถือศาสนาคริสต์ ส่วนหนึ่งสมัครใจนับถือศาสนา
อีกส่วนหนึ่งที่อยู่เดิมแยกไปตั้งบ้านเรือนที่อื่น ( จากการสัมภาษณ์นายหัสดีและนายสนาม
ทำให้ผู้เขียนสันนิษฐานว่า ส่วนหนึ่งน่าจะย้ายไปตั้งเป็นบ้านม่วงในปัจจุบัน)
พ . ศ. 2432 ค. ศ. 1889
จากนั้นชาวบ้านที่เหลือก็พร้อมใจกันสร้างวัดประจำหมู่บ้านขึ้น สมัยนั้นมีต้นไม้ใหญ่เป็นป่าทึบ
ปกคลุมไปทั่ว บริเวณที่ตั้งวัดก็เป็นป่าหนาม( ชาวบ้านเรียกว่าหนามสะหลองคอง) บ้านเรือน
ผู้คนก็ตั้งอยู่รวมๆกัน ใกล้ๆ กับบริเวณที่สร้างวัด คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์ ได้รวบรวม
ข้อมูลประวัติของหมู่บ้านไว้ว่า
คุณพ่อกอมบูริเออ ได้สร้างวัดหลังแรกขึ้นตรงกลางหมู่บ้าน มีลักษณะเป็นโรงเรือนหลังคามุง
จากฝาขัดแตะขนาด 4 ห้อง โดยมีพิธีเสกและเปิดวัดใหม่พร้อมกับการล้างบาปคริสตชน
กลุ่มแรก ณ ดินแดนใหม่นี้จำนวน 19 คน ซึ่งตรงกับวันฉลองนักบุญมารีอามักดาเลนา
วันที่ 22 กรกฎาคม ค. ศ.1889 ( พ. ศ.2432) ดังปรากฎในทะเบียนศีลล้างบาป
ที่บันทึกโดยคุณพ่อกอมบูริเออ วัดนี้จึงได้นาม “ นักบุญมารีอามักดาเลนา”
เป็นองค์อุปถัมภ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และคุณพ่อกอมบูริเออได้มอบหมาย
ให้อยู่ในความดูแลของครูคำสอนคนหนึ่งที่ชื่อ “ ครูหยุย”
พ . ศ. 2439 ค. ศ. 1896
โปรดเกล้าให้เมืองวาริชภูมิ เมืองขึ้นเมืองหนองหาร มาขึ้นกับเมืองสกลนครเปลี่ยนแปลง
ให้เมืองกุสุมาลย์ และเมืองโพธิไพศาลไปขึ้นกับเมืองนครพนม
พ . ศ. 2446 ค. ศ. 1903
เมืองสกลนครเกิดฝนแล้ง ทั้งโค ทั้งกระบือ เกิดโรคระบาด การทำนาไม่ได้ผล
ราษฎรอาศัยบริเวณหนองหารทำนาแซง ประทังความอดอยากไปได้ปีหนึ่ง
พ . ศ. 2448 ค. ศ. 1905
สมัยที่บาทหลวงกังเซเป็นคุณพ่อเจ้าวัด ชาวบ้านเริ่มมีความศรัทธาและมีการสร้างบ้านเรือน
เพิ่มมากขึ้น นายเลา เนืองทอง เล่าว่าปีนี้เป็นปีที่เกิด พอโตขึ้นมีอายุหกปีก็เป็นเด็กช่วยมิสซา
และมีแม่กับพี่เป็นครูคำสอน มิสซาในช่วงนี้ใช้ภาษาลาติน คุณพ่อจะหันหน้าสู่พระแท่นและ
หลังให้ชาวบ้าน มิสซาวันธรรมดาจะตีกลองหนึ่งใบ ส่วนวันอาทิตย์จะตีกลองสามใบแทนเสียงระฆัง
พ . ศ. 2449 ค. ศ. 1906
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จมาตรวจ
ราชการ ถึงบริเวณสกลนครประทับอยู่ 2 วัน แล้วเสด็จไปนมัสการพระธาตุพนมบรมเจดีย์
พ . ศ. 2450 ค. ศ. 1907
วันที่ 13 มกราคม เวลาย่ำรุ่ง ออกจากกุรุคุทางขึ้นเนินป่าไม้เต็งไปตามทางสายโทรศัพท์ ถึงห้วยหิน
สะแนนเวลา 2 โมงเช้า 15 นาที ระยะทาง 410 เส้น มีราษฎรมาคอยรับผู้ใหญ่บ้านผู้หนึ่ง
ดัก ได้นกอินทรีคู่หนึ่งมาให้ ในหมู่ราษฎรมีคนไทยโย้ยคนหนึ่งแต่งตัวอย่างคนพื้นเมือง
ว่ามาจากเมือง อากาศอำนวย กับมีพวกกะโซ้ซึ่งจะได้พบต่อไปมาด้วย เวลาเช้า 3 โมง 40 นาทีออก
จากห้วยหินสะแนน ขึ้นโคกไม้เต็งรังต่อไป เข้าเขตเมืองโพธิไพศาลซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ อย่างตำบลกำนัน
แห่งหนึ่งแต่ทางที่มานี้ไม่ได้ผ่านบ้านผู้คนแล้วข้ามห้วยทวยเขตเมืองโพธิไพศาลกับเมืองกุสุมาลย์
มณฑลทาง วันนี้ 670 เส้น พระอรัญอาสา ผู้ว่าราชการเมืองกุสุมาลย์กับกรมการกำนันผู้ใหญ่บ้าน
และราษฎต่อกันเวลาเช้า 4 โมง 40 นาทีถึงที่พักแรมณ เมืองกุสุมาลย์มณฑลระยะทาง 260เส้นรวม
ระยะชาย หญิงพากันมารับเป็นอันมาก ชาวเมืองนี้เป็นข่าที่เรียกว่ากะโซ้เดิมมาจากเมืองมหาชัยกองแก้ว
ผู้หญิง ไว้ผมสูงแต่งตัวนุ่งซิ่นสวมเสื้อกระบอกย้อมครามห่มผ้าแถบผู้ชายแต่งตัวอย่างคนชาวเมืองแต่เดิม
ว่านุ่งผ้าขัดเตี่ยวไว้ชายข้างหน้าชายหนึ่งข้างหลังชายหนึ่งมีภาษาพูดที่คล้ายสำเนียงมอญ แล้วพวก
ผู้ชายมการเล่น เรียกว่าสะลาคือมีหม้ออุตั้งกลาง แล้วคนต้นบทคนหนึ่งคนสะพายหน้าไม้และลูก
สำหรับยิงคนหนึ่ง คนตีฆ้องซึ่งเรียกว่าพะเนาะคนหนึ่งคนถือไม้ไผ่ท่อนสามปล้องสำหรับ กระทุ้งดิน
ี่เป็นจังหวะสองคน คนถือชามสองมือสำหรับติดเทียนรำคนหนึ่งคนถือก้นตะแกรงขาด สองมือสำหรับ
รำคนหนึ่งแล้วคนถือมีดถือสิ่วหักสำหรับเคาะจังหวะคนหนึ่ง รวม 8 คนเดินร้อง รำเป็นวงเวียนไปมา
พอได้พักหนึ่งก็ดื่มอุแล้วร้องรำต่อไป ดูสนุกกันเองไม่ใคร่อยากเลิกเวลาเลิก แล้วก็ยังฟ้อนกันเรื่อย
ตลอดทางไป พวกข่ากะโซ้นี้กินอาหารไม่ใคร่เลือก มีเรื่องเล่ากันว่าเมื่อกรมหลวงประจักษ์ฯ
เป็นข้าหลวง พระอรัญอาสา ผู้ว่าราชการเมืองกุสุมาลย์คนนี้ไปเฝ้าฯรับสั่งไต่ถาม ถึงขนบธรรมเนียม
ของพวกข่ากะโซ้ ไล่เลียงกันไปจนถึงอาหารที่ชอบบริโภค พระอรัญอาสาทูลว่า“ ชอบเจียะจอ”
( คือชอบบริโภคเนื้อสุนัข) ไม่ทรงเชื่อ พระอรัญอาสารับจะบริโภคถวายทอดพระเนตรจึงให้
ไปหาเนื้อ “ จอ” มาเลี้ยง นัยว่า เมื่อพระอรัญอาสาบริโภคเนื้อจอนั้น พวกข้างในตำหนักดูอยู่
ไม่ได้ถึงต้องวิ่งหนี เล่ากันดังนี้
เวลาบ่าย 4 โมงไปที่วัดกลาง มีพระ 4 รูป เณร 3 รูป วัดในมณฑลนี้มักมีพระอยู่กรรม เรียกว่า “ พลวง”
เป็นประทุนเล็กๆ พื้นฟากเฉพาะนอนคนเดียวเหมือนอย่าประทุนเกวียน มีวัดละหลายๆหลัง มักทำราย
ไปรอบโบสถ์ เวลาเข้าพรรษาพระภิกษุไปกอยู่กรรม เจขามักว่ามีคนศรัทธาไปปฏิบัติถือกันว่าได้บุญ
มาก แล้วไปดูหมู่บ้านราษฎรจนถึงทุ่งนาริมห้วยเสอเพลอ เมืองกุสุมาลย์มณฑลนี้เดิมเรียกว่าบ้าน
กุดมาร ยกขึ้นเป็นเมืองขึ้นของเมืองสกลนคร เห็นจะเป็นเมื่อในรัชกาลที่ 4 ราษฎรชาวเมืองมี
จำนวน 2171 คน เลี้ยงโคกระบือและสุกรเป็ดไก่ถึงได้ขายแก่คนเดินทางบ้าง กับทำนา
และ ข้าวไร่พอเลี้ยงกันเอง
เมืองสกลนคร
วันที่ 14 มกราคม เวลาย่ำรุ่ง ออกจากที่พักเมืองกุสุมาลย์มณฑล ถึงห้วยหลัวเป็นเขตเมืองกุสุมาลย์
กับเมืองสกลนครต่อกัน หลวง พิไสยสิทธิกรรม ข้าหลวงบริเวณสกลนครมาคอยรับ มีราษฎร
ชายหญิงมารับด้วย เดินทางต่อไปถึงทางแยกที่ตัดใหม่ไปท่าแร่ แยกจากทางสายโทรศัพท์มาถึงตำบล
บ้านท่าแร่ มีราษฎรมาคอยรับอีกเป็นอันมากแลที่นี้มีวัดโรมันคาธอลิก เรียกชื่อว่า“ เซนต์ไมเคิลโบสถ์ก่อ”
ผนังด้วยศิลาแลง เพราะตำบลท่าแร่นี้มีศิลาแลงมาก บาทหลวงโยเซฟกอบบุรีเออ ซึ่งมาสอนศาสนา
อยู่ 22ปีเศษแล้วกับบาทหลวงผู้ช่วยอีก2คนได้มาคอยรับแล้วเชิญขึ้นไปบนที่อยเห็นบาหลวงรูปหนึ่ง
ป่วยเป็นไข้จนผิวเหลือง จึงให้หมอแบรดด๊อกไปตรวจและให้ยาด้วยที่วัดบาทหลวงท่าแร่ มีญวณเข้ารีต
166 คน คนพื้นเมือง 1504 คน ระยะทางตั้งแต่เมืองกุสุมาลย์มาบ้านท่าแร่ 506 เส้น ถึงเวลาเช้า 3 โมง
เศษ พักกินข้าวเข้าแล้ว เ วลาเช้า 4 โมง ลงเรือข้ามหนองหารไปขึ้นฝั่ง เมืองสกลนครหนองหาร
เมืองสกลนครนี้กว้างใหญ่ไพศาลมากมีเขาภูพานอยู่ ู่ข้างตะวันตกเป็นเขาเทือกยาว ในหนองมี
เกาะเรียกว่า ดอนตาคราม และดอนสวรรค์ เห็นฝูงม้าฝูงใหญ่ๆและฝูงโคกระบืออยู่ริมฝั่งเป็นแห่งๆ
ไปเวลาเช้า 5 โมง 40 นาที ถึงฝั่งเมืองสกลนครระยะทางข้ามนหนองประมาณ 200 เส้น พระยา
ประจันตประเทศธานี ผู้ว่าราชกาลเมือง กรมการกำนันผู้ใหญ่บ้าน ราษฎรมาคอยรับที่ท้าขึ้นมีพระ
สวดชยันโตและยิงสลุต และมีราษฎรชายข้างหนึ่ง หญิงข้างหนึ่งมาคอยรับเป็นแถวตลอดไป
ประมาณ 3,000 เศษ ถึงที่พักที่อยู่ในหมู่ที่ว่าการบริเวณ เวลาเที่ยงครึ่งมีการประชุมข้าราชการ
และพ่อค้าราษฎร ต้อนรับในปะรำใหญ่
รัชกาลที่ 6 พ. ศ.2453 ค. ศ. 1910
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พ. ศ. 2453–2468)
จากเอกสาร “ บันทึกเหตุการณ์และหนังสือเข้า” ของคุณพ่อกอมบูริเออ เลขที่ 364 ลงวันที่ 1 มกราคม
ค. ศ.1911 ( พ. ศ.2453) ความว่า “ พระสุนทรธนศักดิ์ ปลัดมณฑลประจำเมืองสกลนครตอบอนุญาต
มาถึงท่านบาทหลวง เจ กอมบูริเออ ในการที่ขอให้ราษฎรบ้านนาโพธิ์เว้นการโยธาสำหรับจะได้อยู่
ู่สร้างวัด และจัดแจงถนนหนทางบ้านนาโพธิ์ให้สะอาดเรียบร้อย” ทำให้เราได้ทราบว่า
คุณพ่อกอมบูริเออ ได้นำชาวบ้านสร้างวัดหลังที่ 2 ขึ้น เป็นวัดขนาด 9 ห้องฝาขัด
แตะพอกดินเหนียว แต่ก็ไม่มีรายละเอียดอะไรมากนักเกี่ยวกับวัดหลังที่สองนี้
พ . ศ. 2457 ค. ศ. 1914
รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ใหม่ ให้บ้านนาโพธิ์ ขึ้นตรงกับ
ตำบลกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ตำบลสุมาลย์ซึ่งขึ้นกับอำเภอเมืองนครพนมก็เปลี่ยนมา
ขึ้นกับอำเภอเมืองสกลนครตามเดิม โดยในปีนทำให้บ้านนาโพธิ์ได้กำนัลคนแรกคือ กำนัน
เขียว กามดำ โดยได้ปกครองในตำแหน่งไปจนถึง พ. ศ. 2474 รวม 17 ปี
พ . ศ. 2461 ค. ศ. 1918
ยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้คนเริ่มสูญหายและหลบภัยสงครามหนีกระจัดกระจายกันไป
( สงครามโลกครั้งที่ 1 พ. ศ. 2457 - 2461 ค. ศ. 1914-1918)
พ . ศ. 2464 ค. ศ. 1921
รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้น บังคับให้เด็กอายุ 7–14 ปี ต้องเข้าเรียน
และใช้วัดในขณะนั้นเป็นสถานที่เรียน ปรากฏว่านักเรียนรุ่นแรกของโรงเรียนประจำหมู่บ้านมี
ประมาณ 13–14 คน อายุ 16–17 ปี กันทั้งนั้น หนังสือเรียนก็มีอยู่เล่มเดียว ส่วนสมุดที่ใช้เรียน
ก็ใช้แผ่นกระดานสีดำ เขียนด้วยสอหินแทนสมุดและดินสอ เรียนเสร็จก็ลบแล้วเก็บไว้
วันใหม่ ก็ใช้เรียนต่อได้
พ . ศ. 2465 ค. ศ. 1922
เป็นปีที่ข้าวยากหมากแพง เกิดโจรขโมยขึ้นเต็มบ้านเต็มเมืองนักเรียนหลายคน เริ่มออกจากโรงเรียน
เพื่อไปช่วยพ่อแม่หาเลี้ยงครอบครัวเพื่อความอยู่รอด ยามค่ำคืนจะนอนก็ต้องคอยนอนกันอย่างระวัง
เวลากลางคืนหลายบ้านจะ ทำห่วงเชือกกระตุกไว้ที่ประตูทางเข้าออกของคอก
ถ้ามีขโมยก็จะพอ ช่วยให้ทันรู้ตัวได้บ้าง
พ . ศ.2470 ค. ศ.1927
สร้างในวัดหลังที่ 3 สมัยที่คุณพ่อฮังรี โทมิน เป็นผู้ดูแลขณะเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสคุณ
พ่อกอมบูริเออ ที่ท่าแร่และได้รับมอบหมายให้มาทำหน้าที่ดูแลตั้งแต่ปี ค. ศ.1927
( พ. ศ.2470) แต่ไม่ปรากฎหลักฐานว่าได้เริ่มลงมือสร้างวัดใหม่ตั้งแต่เมื่อไร
ซึ่งวัด หลังดังกล่าวมีลักษณะเป็นวัดไม้ชั้นเดียว สร้างด้วยซุงขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลาง
กว่า 50 เซนติเมตร โดยมีนายกง เนืองทองเป็นนายช่าง เสาตั้งอยู่บนฐานหินยกพื้น
สูงประมาณ1 เมตร มีโดมหอระฆังอยู่ด้านหน้าเสียดายที่วัดหลังนั้นได้พังทลายลง
เมื่อคราวเกิดพายุใหญ่ในปี ค. ศ.1970 ( พ. ศ.2513)จนใช้การไม่ได้ คุณพ่อยอแซฟ
อินตา นันสีทองเจ้าอาวาสในขณะนั้นจึงรื้อถอนและสร้างวัดไม้ชั่วคราวหลังที่สี่ขนาดกว้าง
10 เมตร ยาว 30 เมตร ยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตรขึ้น โดยมีนายซีมอน ถนอม ถิ่นวัลย์
เป็นนายช่าง วัดชั่วคราวหลังนี้ก็ได้ใช้ในการประกอบศาสนกิจต่อมาเป็นเวลานานจนชำรุด
ทรุดโทรม และในสมัยคุณพ่อปีโอ ไอศวรรย์ จันทร์ลือชัย เป็นเจ้าอาวาสในปี ค. ศ.1985
( พ. ศ.2528)มีความพยายามจะสร้างวัดหลังใหม่แต่ไม่สำเร็จส่วนบ้านพักพระสงฆ
์หลังเก่า ซึ่งเป็นบ้านไม้สองชั้นสร้างในปีค. ศ.1956 ( พ. ศ.2499)
โดยคุณพ่อ มีคาแอลเสนีย์ สกนธวัฒน์ โดยซื้อบ้านของนางพิม ซึมเมฆแล้วนำไปดัดแปลง
ทำเป็นสองชั้น พร้อมกับสร้างโรงครัวและฉางข้าวใหญเพื่อทำเป็นธนาคาข้าว สำหรับชาวบ้าน
่
พ . ศ. 2474 ค. ศ. 1931
เลือกตั้งกำนันตำบลนาโพธิ์แทนตำแหน่งที่ว่างลง ได้ กำนันกง เนืองทอง ปกครองต่อ
จนถึงพ. ศ. 2484 รวม 10 ปี จากนั้นจึงทำการเลือกตั้งขึ้น และมีกำนัน มั่น มุงวงษา เป็นกำนันคนต่อมา
พ . ศ.2536 ค. ศ.1993
คุณพ่อยอห์นบัปติสต์ นรินทร์ ศิริวิริยานันท์ย้ายเป็นเจ้าอาวาสคุณพ่อได้ร่วมมือกับชาวบ้าน
ในการปรับปรุงพัฒนาวัดด้วยการสร้างบ้านพักพระสงฆ์และเตรียมการก่อสร้างวัดหลังใหม่ ก่อนจะเริ่มลงมือก่อสร้างวัดพี่น้องสัตบุรุษชาวนาโพธิ์ได้มีโอกาสร่วมโมทนาคุณพระเป็นเจ้า
ในพิธีบูชามิสซาแรกของ คุณพ่อดาเนียล ขวัญ ถิ่นวัลย์ ที่วัดหลังเก่าเมื่อวันอังคารที่ 5
เมษายน ค. ศ.1994 ( พ. ศ.2537) โดยมีบรรดาพระสงฆ์และสัตบุรุษมาร่วมเป็นจำนวนมาก
นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกของหมู่บ้านตั้งแต่ก่อตั้งหมู่บ้านมา 105 ปี ในครั้งนั้นโดยได้รับการบวช
เป็นพระสงฆ์ใน วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ วันที่ 31 มีนาคม ค. ศ.1994 ( พ. ศ.2537)
ณ ปะรำพิธี ีวัดแม่พระไถ่ทาสสองคอน โดยพระอัครสังฆราชลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน
ที่สุดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค. ศ.1994 ( พ. ศ.2537) การสร้างวัดหลังปัจจุบันซึ่งเป็นวัดหลังที่ 5
ได้เริ่ม ขึ้นอย่างจริงจัง โดยได้รับเงินสนับสนุนจากอัครสังฆมณฑลท่าแร่- หนองแสง โดยมีคุณพ่อ
นรินทร์ เป็นหัวแรงสำคัญในการก่อสร้างและบอกบุญไปยังผู้มีจิตศรัทธาต่างและด้วยความร่วม
แรง ร่วมใจของชาวนาโพธิ์ภายใต้การนำของอาจารย์ศรีสมุทร สวนียานันท์ เลขาธิการสภา
อภิบาลวัด การก่อสร้างวัดใหม่ได้แล้วเสร็จสมบูรณ์มีพิธีเสกและเปิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน
ค. ศ.1995( พ. ศ.2538)โดยพระอัครสังฆราชลอเรนซ์คายนแสน์พลอ่อนและใช้เป็นศูนย์กลาง
ในการประกอบพิธีทางศาสนาของชาวนาโพธิ์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
พร้อมกันนี้คุณพ่อนรินทร์ ได้สร้างศาลาอเนกประสงค์ใหม่บริเวณด้านข้างวัดทางทิศตะวันตก
และโรงคำสอนด้าน หลังวัดโดยใช้ไม้ ที่รื้อจากวัดเก่าด้วย
ลำดับพระสงฆ์ผู้ดูแลและเจ้าอาวาส
คุณพ่อยอแซฟ กอมบูริเออ ค. ศ.1887-1901 ( พ. ศ.2430-2444)
คุณพ่ออัมโบรซิโอ ชื่น ค. ศ.1901 ( พ. ศ.2444)
คุณพ่อกาเบรียล วงศ์ ค. ศ.1901-1903 ( พ. ศ.2444-2446)
คุณพ่อกังเช ค. ศ.1904-1906 ( พ. ศ.2447-2449)
คุณพ่อบาริออล ค. ศ.1906 ( พ. ศ.2449)
คุณพ่ออังเยโล - มารีย์ แกวง ค. ศ.1906-1909 ( พ. ศ.2449-2452)
คุณพ่อลากอล์ม ค. ศ.1909 ( พ. ศ.2452)
คุณพ่อลากาทือ ค. ศ.1910-1911 ( พ. ศ.2453-2454)
คุณพ่ออาลาซาร์ ฮวด ค. ศ.1911-1915 ( พ. ศ.2454-2458)
คุณพ่อบูเชต์ ค. ศ.1915-1916 ( พ. ศ.2458-2459)
คุณพ่ออันตน หมุน ค. ศ.1916-1919 ( พ. ศ.2459-2462)
คุณพ่อเซเลสติโน ค. ศ.1919-1920 ( พ. ศ.2462-2463)
คุณพ่อเทโอฟัน ค. ศ.1920-1921 ( พ. ศ.2463-2464)
คุณพ่อทีโบต์ ค. ศ.1926-2927 ( พ. ศ.2469-2470)
คุณพ่อฮังรี โทมิน ค. ศ.1927-1939 ( พ. ศ.2470-2482)
คุณพ่อกาวาเยร์ ค. ศ.1939-25 พ. ย.1940 ( พ. ศ.2482-2483)
คุณพ่อยวง สต๊อกแกร์ 11 ม. ค.- พ. ย.1941 ( พ. ศ.2484)
คุณพ่ออังเยโล มาร์เกซี พ. ค.1942-20 มี. ค.1943 ( พ. ศ.2485-2486)
คุณพ่อยอแซฟ อินทร์ นารินรักษ์ มี. ค.- ส. ค.1943 ( พ. ศ.2486)
คุณพ่ออันตน คำผง กายราช ต. ค.1943-1944 ( พ. ศ.2486-2487)
คุณพ่อราฟาแอล คาร โสรินทร์ ค. ศ.1944 ( พ. ศ.2487)
คุณพ่อเปาโล ศรีนวล ศรีวรกุล ค. ศ.1944-1945 ( พ. ศ.2487-2488)
คุณพ่อวิกตอร์ สีนวน ถินวัลย์ ค. ศ.1945-1948 ( พ. ศ.2488-2491)
คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ แท่ง ยวงบัตรี ค. ศ.1949-1952 ( พ. ศ.2492-2493)
คุณพ่อวิกตอร์ สีนวน ถินวัลย์ ค. ศ.1950 ( พ. ศ.2493)
คุณพ่ออันเดร ฟรังซิโน ค. ศ.1950 ( พ. ศ.2493)
คุณพ่อโมริส บริสซอง ค. ศ.1950 ( พ. ศ.2493)
คุณพ่อราฟาแอล คาร โสรินทร์ ค. ศ.1951 ( พ. ศ.2494)
คุณพ่อฮังรี บรียัง ค. ศ.1951 ( พ. ศ.2494)
คุณพ่อหลุยส์ เลอดึก ค. ศ.1952 ( พ. ศ.2495)
พระสังฆราชเกลาดิอุส บาเย ค. ศ.1952 ( พ. ศ. 2495)
คุณพ่อแบร์นาร์ด จักเกอแมง ธ. ค.1952- ธ. ค.1953 ( พ. ศ.2495-2496)
คุณพ่อราฟาแอล คาร โสรินทร์ ค. ศ.1953 ( พ. ศ.2496)
คุณพ่อมีคาแอล เสนีย์ สกนธวัฒน์ วาระที่ 1 ค. ศ.1953-1962 ( พ. ศ.2496-2505)
คุณพ่อเปาโล สมชาย สลับเชื้อ ค. ศ.1955 ( พ. ศ.2498)
คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ แท่ง ยวงบัตรี ค. ศ.1955 ( พ. ศ.2498)
คุณพ่อซาวิโอ มนตรี มณีรัตน์ ค. ศ.1955 ( พ. ศ.2498)
คุณพ่อเปาโล ศรีนวล ศรีวรกุล ค. ศ.1957 ( พ. ศ.2500)
คุณพ่อลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน ค. ศ.1961 ( พ. ศ.2504)
คุณพ่อโบรนิสลาส ปาแซ๊ก ค. ศ.1962 ( พ. ศ.2505)
คุณพ่อเบเนดิกต์ บุปผา สลับเชื้อ ค. ศ.1962 ( พ. ศ.2505)
คุณพ่อหลุยส์ ทาวาแน็ก ค. ศ.1962 ( พ. ศ.2505)
คุณพ่อปิแอร์ โกลาส์ ค. ศ.1963-1966 ( พ. ศ.2506-2509)
คุณพ่อยอแซฟ อินตา นันสีทอง ค. ศ.1966-1973 ( พ. ศ.2509-2516)
คุณพ่อยอแซฟ กมล เสมอพิทักษ์ ค. ศ.1974-1975 ( พ. ศ.2517-2518)
คุณพ่อยอห์น บันลือ เกียรติธาตรี ค. ศ.1975-1978 ( พ. ศ.2518-2521)
คุณพ่อมีคาแอล เสนีย์ สกนธวัฒน์ วาระที่ 2 ค. ศ.1978-1979 ( พ. ศ.2521-2522)
คุณพ่อเปาโล สมพร อุปพงศ์ ค. ศ.1979-1980 ( พ. ศ.2522-2523)
คุณพ่อยอแซฟ ธีระยุทธ อนุโรจน์ ค. ศ.1980-1985 ( พ. ศ.2523-2528)
คุณพ่อปีโอ ไอศวรรย์ จันทร์ลือชัย ค. ศ.1985-1988 ( พ. ศ.2528-2531)
คุณพ่ออันตน สาคร อุ่นหล้า ค. ศ.1988-1989 ( พ. ศ.2531-2532)
คุณพ่อเปาโล พิชิต ศรีอ่อน ค. ศ.1989-1993 ( พ. ศ.2532-2536)
คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ นรินทร์ ศิริวิริยานันท์ ค. ศ.1993-1998 ( พ. ศ.2536-2541)
คุณพ่อลูกา สุพล ยงบรรทม ค. ศ.1998-2003 ( พ. ศ.2541-2546)
คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์คัมภ์ศรณ์ กาแก้ว ค.ศ. 2003 - 2008 ( พ.ศ. 2546 - 2551)
คุณพ่อลอเรนซ์ ชำนาญ บัวขันธ์ ค.ศ.2008 - 2013
คพ.ไพศาล ว่องไว ค.ศ.2013-2013
คพ.ธัญญา ศรีอ่อน
1 สิงหาคม 2013- ปัจจุบัน
ลำดับพระสงฆ์ผู้ดูแลและเจ้าอาวาส
1. คุณพ่อยอแซฟ กอมบูริเออ
ค . ศ .1887-1901 ( พ . ศ .2430-2444)
2. คุณพ่ออัมโบรซิโอ ชื่น
ค . ศ .1901 ( พ . ศ .2444)
3. คุณพ่อกาเบรียล วงศ์
ค . ศ .1901-1903 ( พ . ศ .2444-2446)
4 คุณพ่อกังเช
ค . ศ .1904-1906 ( พ . ศ .2447-2449)
5. คุณพ่อบาริออล
ค . ศ .1906 ( พ . ศ .2449)
6. คุณพ่ออังเยโล - มารีย์ แกวง
ค . ศ .1906-1909 ( พ . ศ .2449-2452)
7. คุณพ่อลากอล์ม
ค . ศ .1909 ( พ . ศ .2452)
8. คุณพ่อลากาทือ
ค . ศ .1910-1911 ( พ . ศ .2453-2454)
9. คุณพ่ออาลาซาร์ ฮวด
ค . ศ .1911-1915 ( พ . ศ .2454-2458)
10. คุณพ่อบูเชต์
ค . ศ .1915-1916 ( พ . ศ .2458-2459)
11. คุณพ่ออันตน หมุน
ค . ศ .1916-1919 ( พ . ศ .2459-2462)
12. คุณพ่อเซเลสติโน
ค . ศ .1919-1920 ( พ . ศ .2462-2463)
13. คุณพ่อเทโอฟัน
ค . ศ .1920-1921 ( พ . ศ .2463-2464)
14. คุณพ่อทีโบต์
ค . ศ .1926-2927 ( พ . ศ .2469-2470)
15. คุณพ่อฮังรี โทมิน
ค . ศ .1927-1939 ( พ . ศ .2470-2482)
16. คุณพ่อกาวาเยร์
ค . ศ .1939-25 พ . ย .1940 ( พ . ศ .2482-2483)
17. คุณพ่อยวง สต๊อกแกร์
11 ม . ค .- พ . ย .1941 ( พ . ศ .2484)
18. คุณพ่ออังเยโล มาร์เกซี
พ . ค .1942-20 มี . ค .1943 ( พ . ศ .2485-2486)
19. คุณพ่อยอแซฟ อินทร์ นารินรักษ์
มี . ค .- ส . ค .1943 ( พ . ศ .2486)
20. คุณพ่ออันตน คำผง กายราช
ต . ค .1943-1944 ( พ . ศ .2486-2487)
21. คุณพ่อราฟาแอล คาร โสรินทร์
ค . ศ .1944 ( พ . ศ .2487)
22. คุณพ่อเปาโล ศรีนวล ศรีวรกุล
ค . ศ .1944-1945 ( พ . ศ .2487-2488)
23. คุณพ่อวิกตอร์ สีนวน ถินวัลย์
ค . ศ .1945-1948 ( พ . ศ .2488-2491)
24. คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ แท่ง ยวงบัตรี
ค . ศ .1949-1952 ( พ . ศ .2492-2493)
25. คุณพ่อวิกตอร์ สีนวน ถินวัลย์
ค . ศ .1950 ( พ . ศ .2493)
26. คุณพ่ออันเดร ฟรังซิโน
ค . ศ .1950 ( พ . ศ .2493)
27. คุณพ่อโมริส บริสซอง
ค . ศ .1950 ( พ . ศ .2493)
28. คุณพ่อราฟาแอล คาร โสรินทร์
ค . ศ .1951 ( พ . ศ .2494)
29. คุณพ่อฮังรี บรียัง
ค . ศ .1951 ( พ . ศ .2494)
30. คุณพ่อหลุยส์ เลอดึก
ค . ศ .1952 ( พ . ศ .2495)
31. พระสังฆราชเกลาดิอุส บาเย
ค . ศ .1952 ( พ . ศ . 2495)
32. คุณพ่อแบร์นาร์ด จักเกอแมง
ธ . ค .1952- ธ . ค .1953 ( พ . ศ .2495-2496)
33. คุณพ่อราฟาแอล คาร โสรินทร์
ค . ศ .1953 ( พ . ศ .2496)
34. คุณพ่อมีคาแอล เสนีย์ สกนธวัฒน์
วาระที่ 1 ค . ศ .1953-1962 ( พ . ศ .2496-2505)
35. คุณพ่อเปาโล สมชาย สลับเชื้อ
ค . ศ .1955 ( พ . ศ .2498)
36. คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ แท่ง ยวงบัตรี
ค . ศ .1955 ( พ . ศ .2498)
37. คุณพ่อซาวิโอ มนตรี มณีรัตน์
ค . ศ .1955 ( พ . ศ .2498)
38. คุณพ่อเปาโล ศรีนวล ศรีวรกุล
ค . ศ .1957 ( พ . ศ .2500)
39. คุณพ่อลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน
ค . ศ .1961 ( พ . ศ .2504)
40. คุณพ่อโบรนิสลาส ปาแซ๊ก
ค . ศ .1962 ( พ . ศ .2505)
41. คุณพ่อเบเนดิกต์ บุปผา สลับเชื้อ
ค . ศ .1962 ( พ . ศ .2505)
42. คุณพ่อหลุยส์ ทาวาแน็ก
ค . ศ .1962 ( พ . ศ .2505)
43. คุณพ่อปิแอร์ โกลาส์
ค . ศ .1963-1966 ( พ . ศ .2506-2509)
44. คุณพ่อยอแซฟ อินตา นันสีทอง
ค . ศ .1966-1973 ( พ . ศ .2509-2516)
45. คุณพ่อยอแซฟ กมล เสมอพิทักษ์
ค . ศ .1974-1975 ( พ . ศ .2517-2518)
46. คุณพ่อยอห์น บันลือ เกียรติธาตรี
ค . ศ .1975-1978 ( พ . ศ .2518-2521)
คุณพ่อมีคาแอล เสนีย์ สกนธวัฒน์ วาระที่
2 ค . ศ .1978-1979 ( พ . ศ .2521-2522)
47. คุณพ่อเปาโล สมพร อุปพงศ์
ค . ศ .1979-1980 ( พ . ศ .2522-2523)
48. คุณพ่อยอแซฟ ธีระยุทธ อนุโรจน์
ค . ศ .1980-1985 ( พ . ศ .2523-2528)
49. คุณพ่อปีโอ ไอศวรรย์ จันทร์ลือชัย
ค . ศ .1985-1988 ( พ . ศ .2528-2531)
50. คุณพ่ออันตน สาคร อุ่นหล้า
ค . ศ .1988-1989 ( พ . ศ .2531-2532)
51. คุณพ่อเปาโล พิชิต ศรีอ่อน
ค . ศ .1989-1993 ( พ . ศ .2532-2536)
52. คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ นรินทร์ ศิริวิริยานันท์
ค . ศ .1993-1998 ( พ . ศ .2536-2541)
53. คุณพ่อลูกา สุพล ยงบรรทม
ค . ศ .1998-2003 ( พ . ศ .2541-2546)
54. คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ คัมศรณ์ กาแก้ว
ค . ศ . 2003 - 2008 (พ.ศ.2546-2551)
55.คุณพ่อลอเรนซ์ ชำนาญ บัวขันธ์
ค.ศ.2008 -2013
56.คพ.ไพศาล ว่องไว
5 กรกฏาคม 2556
ค.ศ.2013-2013
57. คพ.ธัญญา ศรีอ่อน
1 สิงหาคม 2013- ปัจจุบัน
รายนามพระสงฆ์ลูกวัด
คุณพ่อดาเนียล ขวัญ ถิ่นวัลย์ บวช 31 มี. ค.1994
คุณพ่อโทมัส ภัคพล มหัตกุล บวช 31 พ.ค. 2008
คุณพ่อ
ฟรังซิส อัสซีซี ญาณารณพ มหัตกุล
ลูกวัดคาทอลิกนาโพธิ์
รับศิลบวชเมื่อ เมื่อ 1 พ.ค.2010
รายนามซิสเตอร์ - นักบวช ลูกวัด
ซิสเตอร์สังวาลย์ เนืองทอง
ซิสเตอร์นวลมณี ถิ่นวัลย์
ซิสเตอร์ส่องแสง ถิ่นวัลย์
ซิสเตอร์รัตนากร มหัตกุล
เซอร์วรรณา เนืองทอง
ฟังเล่าประวัติหมู่บ้านภาษาภูไท