ประวัติความเป็นมาขอบงหมู่บ้านโคกสว่าง หมู่ 12
บ้านโคกสว่างหมู่ที่12 ได้แยกมาจากบ้านโคกสว่างหมู่ที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2545
มีครัวเรือนทั้งหมด
124 ครัวเรือน มีประชากร 516 คน
ตั้งอยู่ระหว่างหัวสะพานแยกไปบ้านโคกสว่างหมู่ที่ 4
ได้ใช้ชื่อเดิมที่ใช้เรียกกันมาและคนในชุมชนยังรักบ้านโคกสว่าง จึงได้ใช้ชื่อเดิมจนถึงปัจจุบัน
ที่ตั้งพอสังเขป
บ้านโคกสว่างตั้งอยู่ตำบลนาโพธิ์ ห่างจากอำเภอกุสุมาลย์ ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 8 กิโกเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านหนองหอย ทิศใต้ ติดกับ บานโคกม่วง หมู่ 2 ทิศตะวันออก
ติดกับ บ้านอีกุด ตำบลกุสุมาลย์ ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านค้อ
อาชีพ
ส่วนมากประชาชนประกอบอาชีพคือ ทำนา
ศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
ลักษณะทั่วไป
เป็นที่ราบเป็นทุ่งนารอบล้อมหมู่บ้าน มีภาษาท้องถิ่นคือ ภาษาโส้ ปกครองกันเองอย่างพี่น้อง
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นที่ราบทำการเกษตรได้ผลดี โดยทั่วไปมี 3 ฤดู คือฤดูหนาว ฤดูร้อน ฤดูฝน
ในฤดูฝนตกต้องตามฤดูกาล
สภาพทางเศรษฐกิจ
-รายได้เฉลี่ย 20,000 บาท/คน/ปี -ครัวเรือนมีการออมร้อยละ 80 ต่อครัวเรือนทั้งหมด
-ประชาชนส่วนใหญ่ทำนาขายข้าวและเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆเช่น กลุ่มทอผ้า กลุ่มเลี้ยงปลาและกลุ่มจักสานประจำหมู่บ้าน
ใช้เนื้อที่ทำนาประมาณ 3,500 ไร่ หลังจากทำนาจะปลูกมะเขือเทศ ปลูกพริก
และปลูกข้าวโพดเป็นรายได้เสริมเฉลี่ยครอบครัว
ละ 10,000 บาท/ปี
สภาพสังคม
สภาพบ้านเรือนของชาวบ้านโคกสว่างมีความมั่นคงถาวร มีการจัดบ้านเรือนเป็นระเบียบ ถูกสุขลักษณะครอบครัวมีความอบอุ่น
-ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพดี คนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้การตรวจสุขภาพประจำปี
-เด็กและเยวาชนได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคนประชาชนที่มีอายุ 15-60 ปี ร้อยละ73อ่าออกเขียนได้เป็นส่วนใหญ่
-ชาวบ้านโคกสว่างประชาชนส่วนใหญ่ไม่ติดสุราไม่ติดบุหรี่ ปฏิบัติทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ผู้สูงอายุและคนพิการได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
ประเพณี/เทศกาลประจำปี/วัฒนธรรม
การเหยาผีมูล , การเล่นสะลา
ผลิตภัณฑ์ของชุมชน
ชาวบ้านได้รวมตัวกัน ทอผ้าห่ม ผ้าถุง เพื่อใช้ในครอบครัว
ผู้รู้ / ปราชญ์ / แกนนำสำคัญของชุมชน
ชื่อ - สกุล |
บ้านเลขที่ |
ความรู้ / ความสามารถโดดเด่น |
1. นายสุพรรณ ใยปางแก้ว
2. นายกานี ใยปางแก้ว
3. นายโสพิน ฮาดเนาลี
4. นายสุดตา ใบแสน
นายปู จันจุลา
|
2
51
57
70
75 |
ความรู้ด้านจารีตประเพณี วัฒนธรรม
จักสาน
ความรู้ด้านจารีตประเพณี วัฒนธรรม
ความรู้ด้านจารีตประเพณี วัฒนธรรม
ความรู้ด้านจารีตประเพณี วัฒนธรรม
|
จำนวนคุ้มมี 2 คุ้ม ดังนี้
1. ชื่อคุ้มสีชมพู ชื่อหัวหน้าคุ้ม นายกานี ใยปางแก้ว 2. ชื่อคุ้ม แสนสุข ชื่อหัวหน้าคุ้ม นายประจันทร์ ศรีเมือง
อปพร .
จำนวน 8 คน ได้แก่ นายปรีชา ใยปางแก้วนายนิกูล ใยปางแก้ว นายสมพร ใยปางแก้ว
นายนครชัย ใบแสน นายสฤษดิ์ รันชิดโคตร นายทอง โพธิ์แสนหลี นายเสริฐ จันจุลา นายเกษม มันอินทร์
คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน
จำนวน 8 คน ได้แก่ 1. นางหนองคาย ใยปางแก้ว ประธานกลุ่ม
2. นางพุทธา ใยปางแก้ว รองประธาน 3. นางบัวทอง ใบแสน กรรมการ 4. นางทองจันทร์ จันจุลา กรรมการ
5. นางทำนอง ใยปางแก้ว กรรมการ 6. นางเกียง รันชิตโคตร กรรมการ 7. นางจริยา สมสวัสดิ์ กรรมการ 8. นางจำปา จันจุลา กรรมการและเลขานุการ